วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ภาคกลาง

ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา
           จากการค้นพบโบราณวัตถุหลายชิ้น เป็นต้นว่า ลูกปัด เครื่องประดับทำด้วยทองหรือดีบุก ที่ประทับตราหรือตราขนาดใหญ่และขนาดเล็ก เหรียญเงินศรีวัตสะ เศษเครื่องปั้นดินเผา ฯลฯ ที่เมืองอู่ทองซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับวัตถุที่ค้นพบที่เมืองออกแก้วซึ่งเชื่อกันว่าเป็นเมืองท่าของอาณาจักรฟูนัน ในแหลมโคชินไชนา ในประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียตนามภาคใต้มาก  วัตถุเหล่านี้ไม่เคยพบในที่อื่นในแหลมอินโดจีน และเชื่อกันว่าเป็นวัตถุของอาณาจักรฟูนัน  (พุทธศตวรรษที่ 6- พุทธศตวรรษที่ 10) โดยเฉพาะ นอกจากนี้ยังได้ค้นพบประติมากรรม ศิลปอินเดียสมัยอมราวดี
        จากหลักฐานโบราณสถาน โบราณวัตถุในดินแดนประเทศไทย ทำให้เราได้ทราบว่าอารยธรรมอินเดีย ได้หลั่งไหลแผ่เข้ามายังดินแดนประเทศไทย ตั้งแต่ครั้งพุทธศตวรรษที่ 6-7 ชาวอินเดียเรียกประเทศไทยว่า "ดินแดนสุวรรณภูมิ" และได้เข้ามาตั้งหลักแหล่งในแหลมอินโดจีนพร้อมทั้งได้นำวัฒนธรรมและศาสนา คือ ศาสนาพราหมณ์และพระพุทธศาสนา เข้ามาเผยแพร่ด้วย ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 7  ถึง 11  ตามหลักฐานจากจดหมายเหตุของจีนว่ามีอาณาจักร "ฟูนัน" ตั้งอยู่แถบลุ่มแม่น้ำโขงตอนใต้ และได้แผ่อาณาเขตไปทางทิศตะวันตกถึงแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาด้วย เมื่ออาณาจักร "ฟูนัน" สลายตัวในต้นพุทธศตวรรษที่ 12 แล้ว ในดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาได้เกิดอาณาจักรที่สำคัญทางพุทธศาสนาขึ้น ชื่อว่า อาณาจักรทวาราวดี
         คำว่า   "ทวาราวดี"  เดิมเป็นเพียงข้อสันนิษฐานจากชื่ออาณาจักรที่จดหมายเหตุจีนเรียกว่า "โถโลโปติ" (To-lo-po-ti) ว่า ตรงกับคำสันสกฤตว่า "ทวาราวดี" และคำนี้ได้ติดอยู่เป็นสร้อยชื่อของนครหลวงของประเทศไทย มาตั้งแต่สมัยอยุธยา ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2512 ได้มีผู้พบเหรียญเงินมีอักษรจารึกที่นครปฐมคำจารึกเป็นอักษรสันสกฤต รุ่นพุทธศตวรรษที่ 13 มีข้อความว่า "ศรีทวาราวดี ศวรปุณยะ" แปลว่า "บุญกุศลของพระราชาแห่งศรีทวาราวดี" อันแสดงว่าอาณาจักรทวาราวดีนั้นมีจริงในประเทศไทย
          อาณาจักรทวารวดีเป็นอาณาจักรประวัติศาสตร์สมัยแรกในประเทศไทย อาณาจักรนี้มีเมืองอู่ทองอาจเป็นราชธานีอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง มีการค้นพบแผ่นทองแดง ของพระเจ้าหรรษาวรมันที่เมืองอู่ทอง ซึ่งมีจารึกใช้ตัวอักษรอยู่ประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 12 ก็อาจหมายความว่า พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นี้เป็นพระเจ้าแผ่นดินพระองค์แรก ที่ทราบพระนามสำหรับอาณาจักรทวารวดี เมืองอู่ทองจึงเป็นเมืองสำคัญในอาณาจักรทวารวดีในพุทธศตวรรษที่ 11-12
         ประวัติของไทยนั้นเก่าแก่มาก จดหมายเหตุจีนเมื่อประมาณ 300 ปีก่อนพุทธกาลกล่าวถึงภูมิลำเนาเดิมของไทยว่าอยู่ในลุ่มน้ำตอนกลางของแม่น้ำเหลือง ซึ่งอยู่ในท้องที่มณฑลฮูเป และโฮนานในบัดนี้ ในสมัยเดียวกันนั้น จีนก็ได้มาตั้งภูมิลำเนาอยู่ตามที่ราบสูง ในลุ่มน้ำเหลืองตอนบน คือ มณฑลกังซูในบัดนี้ ซึ่งเห็นจะเป็นเพราะถูกพวกต้นตระกูลตาดรุกราน จึงได้ร่นลงมาและปะทะกับไทยเข้า ไทยมีจำนวนน้อยจำต้องร่นลงมาทางใต้หลายทิศหลายทาง
         พวกไทยส่วนมากร่นลงมาตามแม่น้ำแยงซีเข้าไปในยูนนาน ต่อสู้ชนะพวกพื้นเมืองเดิมและได้ตั้งอาณาจักรน่านเจ้า โดยมีตาลีฟูเป็นเมืองหลวง ต่อมาเมืองหลวงก็ได้ย้ายไปตั้งอยู่ ปูเออฟู อาณาจักรน่านเจ้าครอบครองท้องที่มณฑลยูนนานปัจจุบัน พม่าเหนือและภาคเหนือของสิบสองปันนาประวัติของไทยในสมัยที่กล่าวนี้ รุ่งเรืองที่สุดและอำนาจอยู่อย่างนี้ 4 ศตวรรษ
         เมื่อจีนรุกรานหนักเข้า ไทยก็จำต้องอพยพร่นลงมาอีก และกว่าจะต่อสู้เอา ชัยชนะขอมเจ้าของถิ่นเดิมได้ ก็เป็นเวลาตั้งหลายศตวรรษ แล้วจึงได้ตั้งอาณาจักรใหม่ ณ เชียงแสน บนฝั่งแม่น้ำโขง อาณาจักรใหม่นี้มีประวัติรุ่งเรืองเหมือนอาณาจักรเดิมต่อมานั้นได้ย้ายจากเชียงแสนไปทางตะวันตกเฉียงใต้ และตั้งอาณาจักรขึ้นใหม่ที่ลุ่มแม่น้ำสาลวิน มีภุกามเป็นเมืองหลวง แต่อาณาจักรนี้ไม่ยั่งยืนเพราะอยู่ใกล้ขอมมาก จึงถูกขอมขับกลับไปเลยไปสร้างเมืองเชียงใหม่เป็นเมืองหลวงใหม่ขึ้นที่  แม่น้ำปิง
          การอพยพลงมาทางใต้ยังคงดำเนินไปอยู่เรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเรียกกันว่าดินแดนแหลมทองหรือสุวรรณภูมิ อันเป็นที่ตั้งประเทศไทยปัจจุบันนี้ ได้มีชนชาติอื่นอาศัยอยู่ก่อนแล้ว ได้แก่พวกละว้า ซึ่งได้ตั้งภูมิลำเนาอยู่ 3 แคว้นด้วยกัน คือ
         1. แคว้นโยนก อยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย คือ ดินแดนที่เป็นมณฑลพายัพ และลานนาไทยปัจจุบัน มีอาณาเขตตั้งแต่เมืองเชลียง (สวรรคโลก) ขึ้นไปจนตลอดหัวเมืองลานนา และลานช้าง ได้ตั้งราชธานี อยู่ที่เมืองเงินยาง (เชียงแสน)
          2. แคว้นทวารวาดี อยู่ตรงตอนกลางของประเทศไทย คือ ดินแดนบริเวณจังหวัดนครปฐม อยุธยา พิษณุโลก นครสวรรค์ ปราจีนบุรี รวมทั้งแหลมมลายู ตั้งราชธานีอยู่ที่นครปฐม
          3. แคว้นโคตรบูร อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยปัจจุบัน มีราชธานีอยู่ที่สกลนคร
          สำหรับแคว้นทวารวดีนั้น ต่อมาได้ถูกพวกมอญขยายอาณาเขตเข้ามาทางแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าครอบครองกลายเป็นอาณาจักรหนึ่งของชนชาติมอญ สันนิษฐานว่า พวกมอญคงจะได้ตั้งอาณาจักรนี้ขึ้น เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 10 และสิ้นสุดลงตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 16 เนื่องจากอำนาจของขอมได้แผ่เข้ามายังภาคกลางของประเทศไทย อาณาจักรทวารวดี ก็เปลี่ยนมาเป็นอาณาจักรของขอม ซึ่งเรียกเป็นเฉพาะว่าอาณาจักรลพบุรี
สมัยทวารวดีนั้น มีศูนย์กลางอาณาจักรอยู่ที่นครปฐม ได้มีการขุดค้นพบหลักฐานต่าง ๆ แสดงให้เห็นถึงลักษณะของสถาปัตยกรรมแบบทวารวดีอย่างชัดเจน และได้มีการขุดค้นพบโบราณสถาน และหลักฐานต่าง ๆ สมัยทวารวดี ที่ภาคกลางของประเทศไทย เช่นที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และบ้านโคกไม้เดน อำเภอพยุหคีรี จังหวัดนครสวรรค์ และที่บ้านคูเมือง อ.อินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี โดยเฉพาะที่อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ได้ค้นพบเหรียญเงินมีตัวอักษร ในพุทธศตวรรษที่ 13 จารึก มีข้อความว่า “ศรีทวารวดีศวรปุณยะ” ซึ่งแปลว่า “บุญกุศลของพระราชาแห่งศรีทวารวดี” อันเป็นหลักฐานอย่างหนึ่งที่สนับสนุนคำว่า “ทวารวดี” มีจริงมิใช่เป็นการอ้างเลื่อนลอยโดยพบเหรียญที่มีข้อความดังกล่าวอีกหลายเหรียญ ณ ที่อื่น ๆ ก่อนหน้านี้แล้วจากการขุดค้นพบเมืองโบราณที่บ้านคูเมือง อ.อินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ทำให้ทราบว่าเมืองดังกล่าวได้สร้างขึ้นมา มีความเก่าแก่สมัยทวารวดีตอนต้นและตอนปลาย เรื่อยมาถึงอาณาจักรละโว้ ลักษณะรูปเมืองก็แสดงให้เห็นถึงลักษณะของเมืองสมัยทวารวดี
        ในราว พ.ศ. 1436 ขอมได้ครอบครองดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งหมดนั้น อำนาจของพวกละว้าที่อาศัยอยู่ตามเมืองโบราณต่างๆ นั้น ไม่ได้กระทบกระเทือนอะไร เพราะขอมได้ส่งคนไปปกครองเฉพาะเมืองสุโขทัย เมืองละโว้ และเมืองศรีเทพ ถึงกระนั้นก็มีหลักฐานจากศิลาจารึกปราสาทพระขรรค์ว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 กษัตริย์ของขอมก็ยังได้ส่งพระพุทธรูปชื่อ "พระชัยพุทธมหานาค" ออกมาประดิษฐานตามเมืองต่างๆ ที่อยู่ในดินแดนภาคกลางของประเทศไทยถึง 23 แห่ง ได้แก่ ลโวทยปุระ (เมืองละโว้)   สุวรรณปุระ (เมืองสุพรรณเก่า) คัมพูปัฏฎนะ (เข้าใจว่าเมืองแถบสระโกสิ-นารายณ์ หรือเมืองนครปฐม) ชัยราชบุรี (เมืองราชบุรี) ศรีชัยสิงห์บุรี (เข้าใจว่าเมืองสิงห์ ที่จังหวัดกาญจนบุรี) ศรีชัยวัชรบุรี (เข้าใจว่าเป็นเมืองเพชรบุรี)
        ในขณะที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ทรงตั้งอาณาจักรสุโขทัยนั้น มีชนชาวไทยหลายพวกด้วยกันอพยพมาอยู่ในดินแดนตอนใต้ของคาบสมุทรอินโดจีน พวกที่มีกำลังเข้มแข็งก็ตั้งเป็นบ้านเมืองขึ้น พวกที่อ่อนแอไม่สามารถรวบรวมกันเป็นปึกแผ่นได้ก็เข้ามาอยู่ในความปกครองของชนเหล่าอื่น ระหว่างระยะเวลานี้ มีเจ้านายไทยองค์หนึ่ง ปรากฎพระนามตามที่เรียกกันเป็นสามัญว่า พระเจ้าอู่ทอง ซึ่งเป็นเชื้อสายของราชวงศ์ไชยปราการ สามารถตั้งตนเป็นใหญ่ในบริเวณภาคกลาง แถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา โดยตั้งราชธานีขึ้นที่กรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 1893 ที่หนองโสน หรือบึงพระราม เพราะเห็นว่าอยู่ในทำเลที่เหมาะสมเป็นราชธานี ทั้งในด้านเศรษฐกิจ ยุทธศาสตร์และการเมือง มีลำน้ำล้อมอยู่เป็นคูเมือง ได้แก่ลำน้ำป่าสัก ลำน้ำลพบุรี ลำน้ำเจ้าพระยา ลักษณะชัยภูมิดังกล่าวนี้มีความสำคัญยิ่งทางยุทธวิธีทำให้ปลอดภัยจากศัตรูผู้รุกราน สะดวกในการป้องกันเมืองและเหมาะสำหรับเป็นที่ตั้งมั่นรับข้าศึก เมื่อถึงฤดูน้ำหลากบริเวณนอกพระนครจะเจิ่งไปด้วยน้ำ ข้าศึกไม่สามารถจะตั้งทัพได้สะดวกต้องล่าถอยกลับไป
         สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) เมื่อขึ้นครองราชย์แล้วทรงตั้งพระราชโอรส (คือพระราเมศวร) ไปครองเมืองลพบุรีในฐานะเป็นเมืองลูกหลวง และเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญทางหนือ ในการที่จะคอยสดับตรับฟังข่าวคราวของอาณาจักรสุโขทัย และทรงตั้งขุนหลวงพะงั่ว (พี่มเหสี) เป็นพระบรมราชาให้ไปครองเมืองสุพรรณบุรี เมืองหน้าด่านทิศตะวันตก พระบรมราชาได้ยกกองทัพไปตีเมืองชัยนาท เป็นการขู่ขวัญฝ่ายสุโขทัยไว้ก่อน เหตุการณ์ช่วงนี้ แสดงให้เห็นว่าเมืองอินทร์ เมืองสิงห์บุรี เมืองพรหม ในสมัยนั้นอยู่ในความปกครองของกรุงศรีอยุธยาแล้ว
         ในปี พ.ศ. 1895 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ได้เสด็จยกทัพไปล้อมเมืองพระนครหลวง (นครธม) และได้ยึดเมืองพระนครหลวงได้ใน พ.ศ. 1896 ทำให้พระเดชานุภาพแพร่หลายทั่วไปเป็นผลให้เมืองต่าง ๆ เข้ามาสวามิภักดิ์เป็นเมืองขึ้นอีกเป็นส่วนมาก มีเมืองประเทศราช 20 เมือง เมือง      พระยามหานครถือน้ำพิพัฒสัตยา 8 เมือง เมืองลูกหลวง 5 เมือง เมืองหลานหลวง 2 เมือง
         สมเด็จพระรามาธิบดี 1 ทรงจัดการปกครองส่วนภูมิภาคตามแนวของกรุงสุโขทัย คือจัดเสมือนการจัดกองทัพเพื่อป้องกันข้าศึกศัตรู มีกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีอยู่กลาง เวลามีสงครามก็ระดมพลเมืองเข้าเป็นทัพหลวง มีกษัตริย์ผู้เป็นประมุขเป็นแม่ทัพใหญ่
          สำหรับการปกครองภายในราชธานีนั้น สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ได้เริ่มนำการ  ปกครองแบบจตุสดมภ์มาใช้ กล่าวคือ การดำเนินการปกครองภายในราชธานี ได้ดำเนินตามแบบสุโขทัยและเขมรผสมกันมาเป็นแบบที่เรียกว่า “จตุสดมภ์” คือ จัดหน่วยงานแบ่งออกเป็น 4 หน่วยแต่ละหน่วยมีเสนาบดีเป็นผู้ควบคุมดูแลบริหารราชการ ลักษณะการจัดระเบียบเป็น 4 แผนกนั้นสันนิษฐานว่าจะเป็นแบบที่นำมาจากอินเดีย เพราะประเทศอื่น ๆ เช่น พม่า เขมร ชวา มลายู ต่างมีระเบียบ การแบ่งหน่วยราชการเป็น 4 แผนกเช่นกัน ส่วนของไทยได้รับสืบทอดมาจากเขมรอีกต่อหนึ่ง หน่วยงานทั้ง 4 แผนกคือ
            1. กรมเมือง มีขุนเมืองเป็นผู้บังคับบัญชา มีหน้าที่เกี่ยวกับการปกครองรักษาสันติสุขบังคับบัญชาบรรดาไพร่บ้านพลเมือง ซึ่งมีถิ่นฐานภูมิลำเนาอยู่ในเขตเมืองหลวง รวมทั้งมีหน้าที่ลงโทษ ผู้กระทำผิดทางอาญาในเขตเมืองหลวงด้วย
            2. กรมวัง มีขุนวังเป็นผู้บังคับบัญชา มีหน้าที่ที่เกี่ยวกับราชสำนัก และพิพากษาคดีด้วยและสำหรับหัวเมืองต่าง ๆ ขุนวังมีอำนาจตั้งยกกระบัตรไปประจำตามเมือง ๆ ละคน ทำหน้าที่พิพากษาคดีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเมืองนั้น ๆ ด้วย
            3. กรมคลัง มีขุนคลังเป็นผู้บังคับบัญชา มีหน้าที่จ่าย และเก็บรักษาพระราชทรัพย์ตลอดจนการเงินของประเทศ
            4. กรมนา มีขุนนางเป็นผู้บังคับบัญชา มีหน้าที่ควบคุมดูแลเกี่ยวกับเรือกสวนไร่นาและออกสิทธิที่นาซึ่งถือว่าเป็นงานสำคัญอย่างยิ่ง หน้าที่อีกอย่างหนึ่งคือ การเก็บ “หางข้าว” ขึ้นฉางหลวง (เพราะในสมัยโบราณยังไม่มีการเก็บเงินค่านา ใครทำนาได้ข้าวต้องแบ่งเอามาส่งขึ้นฉางหลวงไว้สำหรับใช้ในราชการเรียกว่า “หางข้าว”)
            จากหลักฐานการจัดการปกครองของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ที่ทรงจัดให้ เมืองพรหม เมืองอินทร์ เมืองสิงห์ เมืองสรรค์ เป็นหัวเมืองขึ้นในหน้าด่าน รายทางสำหรับทางทิศเหนือ โดยมีเมืองลพบุรีเป็นเมืองหน้าด่านหลักนั้น แสดงให้เห็นว่า เมืองพรหม เมืองอินทร์ เมืองสิงห์ ได้มีอยู่แล้วในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยถูกจัดให้เป็นหัวเมืองชั้นใน ก่อนหน้านั้นเมืองดังกล่าวทั้งสามนี้ อาจอยู่ในความ ปกครองของอาณาจักรสุโขทัยก็ได้ เพราะในช่วงที่อาณาจักรสุโขทัยรุ่งเรืองนั้น ได้มีอำนาจอิทธิพลแผ่ขยายครอบงำในบริเวณภาคกลางและลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยานี้ด้วย แต่ก็ไม่ปรากฏแน่ชัดว่า เมืองทั้งสามนี้ได้สร้างขึ้นในสมัยใน หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่หลงเหลืออยู่ ก็ไม่มีพอที่จะให้ค้นคว้าได้ ชาวไทยมักจะรู้จักประวัติศาสตร์ของคนดีก็ในยุคของอาณาจักรสุโขทัยสมัยราชวงศ์พระร่วงเป็นต้นมา
การปกครองกรุงศรีอยุธยามาแก้ไขมาก เมื่อรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเหตุด้วยเมื่อรัชกาลก่อน ได้อาณาเขตกรุงสุโขทัย ซึ่งได้ลดศักดิ์ลงเป็นประเทศราชอยู่นั้น มาเป็นเมืองขึ้น กรุงศรีอยุธยา และตีได้เมืองนครธม (พระนครหลวง) ซึ่งเป็นราชธานีของประเทศขอม เมื่อปีฉลู พ.ศ. 1976 ในสมัยนั้นได้ข้าราชการเมืองสุโขทัยและชาวกรุงกัมพูชา ทั้งพวกพราหมณ์ พวกเจ้านายท้าวพระยา ซึ่งชำนาญการปกครองมาไว้ในกรุงศรีอยุธยาเป็นอันมาก ได้ความรู้ขนบธรรมเนียมราชการงานเมืองทั้งทางกรุงสุโขทัยและกรุงกัมพูชาถ้วนถี่ดีกว่าที่เคยรู้มาแต่ก่อน จึงเป็นเหตุให้แก้ไขประเพณีการปกครอง เลือกทั้งแบบแผนในกรุงสุโขทัยและแบบแผนขอมในกรุงกัมพูชา มาปรับปรุงเป็นวิธีการปกครองกรุงศรีอยุธยา ตั้งแต่ในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและต่อมาในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีพระองค์ที่ 2 ซึ่งเป็นราชโอรสสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ วิธีปกครองที่ปรับปรุงขึ้นเมื่อระหว่าง พ.ศ. 1991 จนถึง พ.ศ. 2072 ใน 2 รัชกาลที่กล่าวมาจึงได้เป็นหลัก ของวิธีปกครองประเทศสยามสืบมา ถึงแก้ไขบ้างในบางสมัยก็เป็นแต่แก้พลความตัวหลัก วิธียังคงอยู่จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์นี้
            การปกครองตามแบบพระบรมไตรโลกนาถนั้น ทรงจัดการปกครองในลักษณะแบบการรวบอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง หลักใหญ่คือ แบ่งการปกครองออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนกลาง ส่วน   ภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น กล่าวคือ การปกครองส่วนกลางได้แยกฝ่ายทหารกับพลเรือนออกจากกัน ฝ่ายทหารก็ให้มีหัวหน้าคนหนึ่ง คอยควบคุมดูแล มีบรรดาศักดิ์ เป็นสมุหกลาโหมดูแลราชการเกี่ยวกับการทหารทั้งหมด ฝ่ายพลเรือนก็มีสมุหนายกเป็นหัวหน้า และมีตำแหน่งรองลงไปคือจตุสดมภ์ และได้เปลี่ยนชื่อกรมเมือง เป็นนครบาล กรมวัง เป็นธรรมาธิการ กรมคลัง เป็นโกษาธิบดีและกรมนา เป็นเกษตราธิราช สำหรับการปกครองส่วนภูมิภาคให้เป็นแบบเดียวกันกับราชธานี โดยให้แต่ละเมืองใช้วิธีการปกครอง ฝ่ายพลเรือน คือ มีจตุสดมภ์ มีเวียง วัง คลัง นา ตามหัวเมืองนั้น ๆ ด้วย ได้กำหนดให้หัวเมืองชั้นในคือ บรรดาเมืองที่อยู่ใกล้ในวงราชธานีเป็นเมืองจัตวา หัวเมืองชั้นนอก ได้แก่หัวเมืองซึ่งอยู่นอกเขตวงราชธานีออกไป กำหนดฐานะเป็นหัวเมืองชั้นเอก โท ตรี โดยลำดับกันตามขนาดและความสำคัญของเมือง   ส่วนการปกครองส่วนท้องถิ่น มีการแบ่งอาณาเขตการปกครองท้องที่ออกเป็นหน่วย ๆ เริ่มต้น “หมู่บ้าน” มีผู้ใหญ่บ้านซึ่งผู้ว่าราชการเมืองเป็นผู้แต่งตั้งขึ้นเป็นหัวหน้าปกครองหลายหมู่บ้านรวมตัวกันเป็น “ตำบล” กำนัน ซึ่งได้รับบรรดาศักดิ์ “พัน” เป็นหัวหน้าปกครองหลาย ๆ ตำบลรวมกันเป็น “แขวง” มีหมื่นแขวงเป็นผู้ปกครองหลาย ๆ แขวงรวมกันเป็นเมือง มีผู้รั้งเมืองหรือเจ้าเมืองเป็นผู้ ปกครอง
           ครั้ง แรก เมื่อปี พ.ศ. 2127 เป็นระยะที่ไทยประกาศอิสรภาพใหม่ ๆ พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง ได้ยกกองทัพมาตีไทยหวังให้ยอมอยู่ภายใต้อำนาจพม่าต่อไปอีก เพราะเห็นว่าไทยเสียบ้านเมืองมาก่อนกำลังที่จะต่อสู้ย่อมมีน้อยกว่าแต่ก่อน จึงไม่จำเป็นต้องยกทัพหลวงเข้ามาเหมือนอย่างครั้งพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ก็คงจะตีกรุงศรีอยุธยาได้ พอถึงฤดูแล้วปลายปีนั้น จึงให้จัดทัพยกมาเป็น 2 ทางพร้อมกันประสงค์จะให้ไทยละล้าละลังในการที่จะต่อสู้ในครั้งนั้น ให้เจ้าเมืองพสิมซึ่งเป็นพระเจ้าอาคุมกองทัพจำนวนพล 30,000 คนยกเข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ทัพ 1 ให้พระเจ้าเชียงใหม่ ซึ่งเป็นพระอนุชายกกองทัพบกทัพเรือจากเชียงใหม่ จำนวนพล 100,000 คน ลงมาทางเมืองเหนืออีก   ทาง ๆ ให้มาสมทบกันตีกรุงศรีอยุธยา
           ฝ่ายข้างกรุงศรีอยุธยานั้น สมเด็จพระนเรศวรทรงเตรียมการคอยท่าศึกอยู่แล้ว ให้กองสอดแนมออกไปคอยสืบสวนอยู่ทุกทางที่ข้าศึกจะยกมา ครั้งทรงทราบว่าข้าศึกจะยกมาเป็น 2 ทางจึงให้ตระเตรียมการต่อสู้ ให้จัดพลอาสาชาวหัวเมืองเหนือเป็นทัพบกทัพ ๆ มีจำนวนพล 10,000 คนให้เจ้าพระยาสุโขทัยเป็นนายทัพ แล้วจัดพลอาสาชาวกรุงฯ เป็นกองทัพเรืออีกทัพ 1 ให้พระยาจักรีเป็น นายทัพพระยาพระคลังเป็นยกกระบัตร และสั่งให้ขนย้ายเสบียงอาหารและพาหนะ ในหนทางที่ข้าศึกจะยกมาเสียให้พ้นมือข้าศึกทั้ง 2 ทาง แล้วให้ต้อนคนเข้าอยู่ในพระนคร เตรียมรักษาป้อมปราการเป็นสามารถ
            กอง ทัพหงสาวดียกเข้ามาครั้งนี้จะเป็นด้วยคิดโดยเลินเล่อหรือเป็นด้วยเจ้าเมือง พสิมกับพระเจ้าเชียงใหม่เข้าใจผิดกันอย่างใดอย่างหนึ่ง ยกเข้ามาหาพร้อมกันไม่ พอถึงเดือนอ้าย กองทัพเจ้าเมืองพสิมก็ยกเข้ามาในแดนไทยทางเมืองกาญจนบุรีแต่ทัพเดียว สมเด็จพระนเรศวรทรงทราบก็เห็นได้ที แต่เวลานั้น น้ำลดยังไม่ถึงที่ น้ำในแม่น้ำลำคลองมีมาก แต่ทางบกแผ่นดินยังเปียก จะเดินกองทัพไม่สะดวก จึงมีรับสั่งให้พระยาจักรียกกองทัพเรือออกไปรักษาเมืองสุพรรณบุรี ต้านทานข้าศึกไว้พลางก่อน กองทัพเจ้าเมืองพสิมยกเข้ามาหมายจะเอาเมืองสุพรรณเป็นที่มั่น ถูกกองทัพเรือพระยาจักรีเอาปืนใหญ่ยิงทนอยู่ไม่ไหวก็ถอยกลับไปตั้งอยู่บนดอน ที่เขาพระยาแมน คอยฟังข่าวกองทัพพระเจ้าเชียงใหม่อยู่ที่นั่น ครั้งถึงเดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ สมเด็จพระนเรศวรกับสมเด็จพระเอกาทศรถก็เสด็จด้วยกระบวนเรือจากกรุงศรีอยุธยา ไปทำพิธีเหยียบชิงชัยภูมิ ฟันไม้ข่มนามที่ตำบลลุมพลี แล้วเสด็จไปประทับที่ (ตำบล    ป่าโมก) แขวงเมืองวิเศษชัยชาญ อันเป็นที่ประชุมพล โปรดให้เจ้าพระยาสุโขทัยคุมกองทัพบกเมืองเหนือยกเป็นกองหน้าไปตีกองทัพเจ้า เมืองพสิม ซึ่งตั้งอยู่ที่เขาพระยาแมนแล้วเสด็จยกกองทัพหลวงตามไปตั้งอยู่ที่ตำบลสาม ขนอนแขวงเมืองสุพรรณบุรี เจ้าพระยาสุโขทัยยกไปถึงเขาพระยาแมนได้รบพุ่งกับกองทัพหน้าของเจ้าเมืองพสิ มตีกองทัพพม่าแตกพ่ายไปฝ่ายเจ้าเมืองพสิมเวลานั้นเข้ามายึดเมืองไม่ได้หมาย ต้องออกไปตั้งอยู่กลางดอนขัดสนเสบียงอาหาร ฟังข่าวกองทัพพระเจ้าเชียงใหม่ก็ไม่ได้ความ ทำนองออกจะรวนเรอยู่แล้ว พอรู้ว่ากองทัพหน้าแตกก็ไม่ได้คิดจะต่อสู้   รีบถอยหนีกลับไป เจ้าพระยาสุโขทัยได้ทีก็รีบติดตามตีพม่าไปจนปลายแดนเมืองกาญจนบุรีจับได้ (นายกองชื่อ) ฉางชวีและช้างม้ามาถวายเป็นอันมาก
กองทัพเจ้าเมืองพสิมหนีไปได้สัก 15 วัน กองทัพพระเจ้าเชียงใหม่ก็ยกลงมาถึงปากน้ำโพ ในเดือนยี่นั้น ด้วยหัวเมืองเหนือเวลานั้นร้างอยู่ทุกเมืองดังกล่าวมาแล้ว ไม่มีผู้ใดต่อสู้ก็ยกลงมาได้ โดยสะดวกทั้งทัพบกทัพเรือ พระเจ้าเชียงใหม่มาตั้งอยู่ที่เมืองชัยนาท ไม่รู้ว่ากองทัพเจ้าเมืองพสิมถอนหนีไปเสียแล้ว จึงให้ไชยะกยอสูและนันทกยอทางยกกองทัพหน้า จำนวนพล 15,000 คน ลงมาตั้งที่ปากน้ำบางพุทราแขวงเมืองพรหม ให้มาสืบสวนนัดกำหนดกับเจ้าเมืองพสิมที่จะยกเข้ากรุงศรีอยุธยาให้พร้อมกัน
            สมเด็จพระนเรศวรทรงทราบว่า กองทัพพระเจ้าเชียงใหม่ยกลงมาทางข้างเหนือ ก็เสด็จยกกองทัพหลวงไปกับสมเด็จพระเอกาทศรถตั้งทัพหลวงที่บ้านชะไวแขวงเมืองวิเศษชัยชาญ แล้วให้พระราชมนูเป็นนายทัพ ขุนรามเดชะเป็นยกกระบัตรคุมกองทัพหน้ามีจำนวนทหารม้า 200 พลราบ 3,000 คน ยกขึ้นไปตีกองทัพหน้าของข้าศึกที่ปากน้ำบางพุทรา พระราชมนูกับขุนรามเดชะยกขึ้นไปถึงเห็นว่าจำนวนพลในกองทัพของตนมีน้อยกว่าข้าศึกมากนัก จึงคิดเป็นกลอุบายซุ่มกองทัพไว้ในป่า แล้วแต่งกองโจรให้แยกย้ายกันดักฆ่าฟันข้าศึกที่เที่ยวลาดตระเวนหาเสบียงอาหาร และคอยแย่งช้างม้าพาหนะมิให้เอาไปเลี้ยงห่างค่ายใหญ่ได้ ถ้าข้าศึกตามจับเห็นมากก็หลบเลี่ยงไปเสีย ด้วยชำนาญท้องที่กว่าข้าศึก แต่พอเห็นข้าศึกเผลอก็เข้าปล้นทัพมิให้ข้าศึกอยู่เป็นปกติได้ ทัพหน้าข้าศึกตั้งอยู่ไม่ได้ ก็ต้องถอยกลับไปเมืองชัยนาท พระเจ้าเมืองเชียงใหม่ได้ข่าวว่า กองทัพเจ้าเมืองพสิม ซึ่งยกมาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ เสียทีไทยถอนหนีกลับไปเสียแล้ว เห็นจะตีพระนครศรีอยุธยาไม่สำเร็จก็เลิกทัพกลับไป
         ในปี พ.ศ. 2308 พระเจ้ามังระได้ให้มังมหานรธายกทัพเจ้ามาทางเมืองมะริดส่วนทางเหนือให้เน เมียวสีหบดีเคลื่อนกองทัพออกจากเชียงใหม่ตีหัวเมืองต่าง ๆ เรื่อยมา ในระยะแรกที่ฝ่ายไทยได้ทราบข่าวศึกและเห็นว่าพม่าจะต้องยกมาตีไทยแน่นอน จึงได้เตรียมการต่อสู้พม่า
            การที่กรุงศรีอยุธยาได้จัดเตรียมการป้องกันพระนครและเตรียมสู้รบพม่า โดยจัดแบ่งออกเป็นกองย่อย ๆ มากมายและแยกไปตั้งอยู่ตามจุดต่าง ๆ โดยพม่ายกทัพมาจริง ๆ ยกมาเพียง 2 ทางเท่านั้น ดังนั้น กองทัพไทยที่ไปอยู่อีกหลายจุด จึงไม่ได้สู้รบกับพม่าเลย ทำให้เสียกำลังทัพ ไม่ได้ใช้ประโยชน์เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ไทยต้องเสียกรุงศรีอยุธยาเป็นครั้งที่สอง
            ในขณะที่พม่าตั้งค่ายขยายวงล้อมกรุงศรีอยุธยา โดยมีทัพของเนเมียวสีหบดี ตั้งค่ายทางเหนือของอยุธยาแถบบ้านประสบ (พระประสบ) เนเมียวสีหบดีได้ให้ทหารพม่าจำนวนหนึ่ง ไปเที่ยวค้นทรัพย์จับผู้คนทางเมืองวิเศษไชยชาญและได้ตั้งค่ายอยู่ที่เมืองวิเศษไชยชาญ ได้เกลี้ยกล่อมให้พวกราษฎรให้ยอมอยู่ในอำนาจเป็นพวกของพม่า ขณะนั้นราษฎรในเขตเมืองวิเศษไชยชาญ เมืองสิงห์บุรี เมืองสรรค์บุรี และเมืองสุพรรณบุรี ได้อพยพไปพึ่งอาจารย์ธรรมโชติ ที่บ้านบางระจัน ซึ่งอยู่ในท้องที่เมืองสิงห์บุรี พม่าได้ส่งคนไปเกลี้ยกล่อมให้เข้าเป็นพวกของพม่า แต่ชาวไทยกลุ่มนี้มีความรักชาติ ไม่ยอมเข้ากับพม่า ได้รวมกำลังกันต่อสู้กับพม่าและสามารถเอาชนะกองทหารพม่าถึง 7 ครั้ง ในการรบครั้งที่ 8 ชาวบ้านบางระจันจึงพ่ายแพ้พม่า เพราะไม่ได้รับกำลังช่วยเหลือจากทางกรุงศรีอยุธยา แม้ทางชาวบ้านบางระจันจะส่งคนมาขอปืนใหญ่จากรุงศรีอยุธยา 2 กระบอกแต่ทางกรุงไม่ให้ เสนาบดีกราบทูลสมเด็จพระยาเอกทัศน์ว่า “…ถ้าค่ายบ้านบางระจันเสียแก่พม่า พม่าก็จะเอาปืนเข้ามารบกรุงจะให้ไปนั้นมิบังควร…” พระเจ้าแผ่นดินทรงเชื่อตามคำกราบทูล จึงไม่ทรงให้ปืนใหญ่แก่ชาวบ้านบางระจัน แต่ให้ได้พระยารัตนาธิเบศร์ออกไปหล่อปืนที่บ้านบางระจัน การหล่อปืนใหญ่จะต้องใช้เวลานานพอสมควร ชาวบางระจัน จึงถูกพม่าซึ่งนำโดยพระนายกองตีแตกชาวบ้านบางระจันได้ยืนหยัดต่อสู้พม่าเป็นเวลานานถึง 5 เดือนจึงเศษจึงเสียทีแก่พม่า ชาวบ้านที่มีชีวิตอยู่รวมทั้งเด็กและสตรีถูกพม่าจับไปเป็นเชลยเป็นส่วนใหญ่ ที่หนีรอดไปได้นั้นมีน้อย ชาวบ้านบางระจัน เป็นตัวอย่างอันดีในการแสดงออก ซึ่งความรักชาติบ้านเมืองยิ่งกว่าสิ่งใด ๆ
          หลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าข้าศึก เมื่อ พ.ศ. 2310 กล่าวได้ว่ากรุงศรีอยุธยาอยู่ในสภาพยับเยินเสียหายมาก ทั้งปราสาทราชวัง วัดวาอาราม และบ้านเรือนของประชาชนถูกเพลิงไหม้เสียหายเป็นส่วนใหญ่ บรรดาประชาชนถูกพม่ากวาดต้อนไปเป็นเชลยประมาณ 1 แสนครอบครัวส่วนที่เหลืออยู่ ก็มีความทุกข์ยากลำบากล้มตายและฆ่าฟันกันเองทุกหนทุกแห่งเป็นสภาพที่นับว่าเสียหายมาก ซึ่งไม่เคยปรากฏผลความเสียหายเช่นนี้มาเลยในอดีต กรุงศรีอยุธยาซึ่งได้ดำรงปกครองตนเองมาเป็นเวลานานถึง 417 ปี มีกษัตริย์ปกครองติดต่อกันมาถึง 34 องค์ ก็ต้องถึงแก่กาลอวสานเสียบ้านเมืองให้แก่พม่า เพราะเหตุที่พระเจ้าแผ่นดินอ่อนแอและคนไทยแตกความสามัคคี แต่เมืองไทยก็ยังโชคดีที่มีคนดีมีความสามารถมากอบกู้ชนชาติไทย ให้รวมกันเป็นปึกแผ่นได้อีกสมกับที่ว่ากรุงศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดี บุคคลผู้นั้นคือ “พระยาวชิระปราการ” หรือที่รู้จักกันในนามของ “พระยาตาก” ได้ทำสงครามขับไล่พม่าออกจากค่ายโพธิ์สามต้นแล้ว จึงเลือกเอากรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวงสืบต่อมา กรุงศรีอยุธยาจึงได้กลายเป็นอดีต “กรุงเก่า”
            การปกครองในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีลักษณะคล้าย ๆ กับการปกครอง ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบ้างในส่วนที่เกี่ยวกับการ ปกครองในส่วนภูมิภาคที่สำคัญคือ ได้มีการจัดแบ่ง หัวเมืองขึ้นกลาโหม มหาดไทย และกรมท่าใหม่ กล่าวคือ รัชกาลที่ 1 ทรงพระราชดำริว่า เมื่อครั้งกรุงเก่าเมืองปักษ์ใต้ยกมาขึ้นแก่กรมท่านั้น เพราะกลาโหมมีความผิด บัดนี้ เจ้าพระยามหาเสนา ที่สมุหกลาโหมมีความชอบมาก จึงให้แบ่งหัวเมืองปักษ์ใต้ ฝ่ายตะวันตกซึ่งขึ้นกรมท่า 19 เมืองขึ้นมหาดไทย 1 เมือง รวม 20 เมือง ซึ่งต่อสมุหกลาโหมทำให้การบังคับบัญชาหัวเมืองในส่วนภูมิภาคอยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายต่างๆ

วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร (อังกฤษ: Bangkok) เป็นเมืองหลวงแห่งราชอาณาจักรไทย และเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศไทย รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญก้าวหน้าด้านอื่น ๆ ของประเทศไทย นอกจากนี้ยังเป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลกอีกด้วย มีแม่น้ำสำคัญคือ แม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน ทำให้แบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี (เดิมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเป็นที่ตั้งของกรุงธนบุรีซึ่งต่อมาภายหลังได้รวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกรุงเทพมหานคร) โดยกรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตารางกิโลเมตร พิกัดทางภูมิศาสตร์คือ ละติจูด 13° 45’ เหนือ ลองจิจูด 100° 31’ ตะวันออก

กรุงเทพมหานครเป็นเขตปกครองพิเศษของประเทศไทย โดยมิได้มีสถานะเป็นจังหวัด ซึ่งคำว่า กรุงเทพมหานคร นั้น ยังใช้เป็นคำเรียกสำนักงานปกครองส่วนท้องถิ่นของกรุงเทพมหานครอีกด้วย ปัจจุบันกรุงเทพมหานครใช้วิธีการเลือกตั้งผู้บริหารแบบการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง

คำว่า กรุงเทพมหานคร แปลว่า "พระนครอันกว้างใหญ่ ดุจเทพนคร" มาจากชื่อเต็มว่า กรุงเทพ มหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์ มีความหมายว่า "พระนครอันกว้างใหญ่ ดุจเทพนคร เป็นที่สถิตของพระแก้วมรกต เป็นมหานครที่ไม่มีใครรบชนะได้ มีความงามอันมั่นคง และเจริญยิ่ง เป็นเมืองหลวงที่บริบูรณ์ด้วยแก้วเก้าประการ น่ารื่นรมย์ยิ่ง มีพระราชนิเวศใหญ่โตมากมาย เป็นวิมานเทพที่ประทับของพระราชาผู้อวตารลงมา ซึ่งท้าวสักกเทวราชพระราชทานให้ พระวิษณุกรรมลงมาเนรมิตไว้"

โดยนามเดิมที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ พระราชทานในตอนแรกนั้น ใช้ชื่อว่า “กรุงรัตนโกสินทร์อินท์อโยธยา” ต่อมาในในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแก้นามพระนครเป็น “กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินท์ มหินทอยุธยา” จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง เปลี่ยนคำว่า บวร เป็น อมร เปลี่ยนคำว่า มหินทอยุธยา โดยวิธีการสนธิศัพท์เป็น มหินทรายุธยา และเติมสร้อยนามต่อ ทั้งเปลี่ยนการสะกดคำ สินท์ เป็น สินทร์ จนเป็นที่มาของชื่อเต็มของกรุงรัตนโกสินทร์ (กรุงเทพฯ) ข้างต้น

ชื่อทางการของกรุงเทพมหานครเมื่อถอดเป็นอักษรโรมัน คือ Krung Thep Maha Nakhon แต่คนทั่วไปนิยมทับศัพท์ตามชื่อที่ผู้พูดภาษาอังกฤษเรียกเมืองนี้ว่า Bangkok ซึ่งมาจากชื่อเดิมของกรุงเทพมหานคร คือ บางกอก

ชื่อเต็มของกรุงเทพมหานครเมื่อถอดเป็นอักษรโรมัน คือ Krungthepmahanakhon Amonrattanakosin Mahintharayutthaya Mahadilokphop Noppharatratchathaniburirom Udomratchaniwetmahasathan Amonphimanawatansathit Sakkathattiyawitsanukamprasit[5] ซึ่งเป็นชื่อสถานที่ที่ยาวที่สุดในโลกและได้จดบันทึกไว้ในกินเนสบุ๊ค[7] (169 ตัวอักษร) ยาวกว่าชื่อภูเขา Taumatawhakatangihangakoauauotamateaturipukakapikimaungahoronukupokaiwhenuaki

tanatahu (85 ตัวอักษร) ในนิวซีแลนด์ และชื่อทะเลสาบ Chargoggagogg¬manchauggagogg¬chaubunagungamaugg (45 ตัวอักษร) ในรัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา

พื้นที่บริเวณกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน เดิมเป็นที่ตั้งของเมืองธนบุรีศรีสมุทร ชาวต่างชาติเรียกกันว่า "บางกอก" มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีความสำคัญเนื่องจากเป็นเส้นทางออกสู่ทะเลและติดต่อค้าขายกับอาณาจักรต่าง ๆ เป็นเมืองหน้าด่านขนอน คอยดูแลเก็บภาษีกับเรือสินค้าทุกลำที่ผ่านเข้าออก ส่วนบริเวณปากน้ำตรงอ่าวไทย เรียกกันว่า "นิวอัมสเตอร์ดัม" มีชุมชนใหญ่และโกดังของชาวต่างประเทศไว้สำหรับพักสินค้า ปัจจุบันคือพื้นที่บริเวณอำเภอพระประแดง

ที่มาของคำว่า "บางกอก" นั้น มีข้อสันนิษฐานว่าอาจมาจากการที่แม่น้ำเจ้าพระยาคดเคี้ยวไปมา บางแห่งมีสภาพเป็นเกาะเป็นโคก จึงเรียกกันว่า "บางเกาะ" หรือ "บางโคก" หรือไม่ก็เป็นเพราะบริเวณนี้มีต้นมะกอกอยู่มาก จึงเรียกว่า "บางมะกอก" โดยคำว่า "บางมะกอก" มาจากวัดอรุณ ซึ่งเป็นชื่อเดิมของวัดดังกล่าว และต่อมาต่อมากร่อนคำลงจึงเหลือแต่คำว่าบางกอก

ต่อมาเมื่อถึงคราวเสียกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 2310 หลังการกอบกู้อิสรภาพจากพม่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงสถาปนาเมืองธนบุรีศรีมหาสมุทรให้เป็นราชธานีแห่งใหม่ คือ กรุงธนบุรี เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2313 แต่กรุงธนบุรีมีสภาพเป็นเมืองอกแตก ตรงกลางมีแม่น้ำเจ้าพระยาไหล ผ่าน เป็นเหตุให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง) มีความคิดจะย้ายเมืองไปทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อให้การป้องกันรักษาเมืองเป็นไปได้โดยง่าย

เมื่อสิ้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงพระนามว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี มีพระราชดำริว่า ฟากตะวันออกของกรุงธนบุรีมีชัยภูมิดีกว่าตะวันตก เพราะมีลำน้ำเป็นขอบเขตอยู่กว่าครึ่ง หากข้าศึกยกมาติดถึงชานพระนคร ก็จะต่อสู้ป้องกันได้ง่ายกว่าอยู่ข้างตะวันตก จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาให้เป็น ราชธานีแห่งใหม่ โดยสืบทอดศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมจากพระราชวังหลวงของกรุงศรีอยุธยา

พระองค์มีพระบรมราชโองการให้พระยาธรรมาธิกรณ์กับพระยาวิจิตรนาวี เป็นแม่กองคุมช่างและไพร่ไปวัดกะที่ดินเพื่อสร้างพระนครใหม่ในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2325 ทรงประกอบพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ ย่ำรุ่งแล้ว 9 บาท (54 นาที) ปีขาล จ.ศ. 1144 จัตวาศก ตรงกับวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 เวลา 6.54 น.[8] และทรงประกอบพระราชพิธีปราบดาภิเษกในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2325

ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนชื่อพระนครจาก บวรรัตนโกสินทร์ เป็น อมรรัตนโกสินทร์ และมีฐานะในการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็น "จังหวัดพระนคร"

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนใหม่ขึ้น และเปลี่ยนรูปแบบผังเมืองกรุงเทพมหานครเฉกเช่นอารยประเทศ เนื่องจากในสมัยนั้นสยามประเทศถูกคุกคามจากมหาอำนาจยุโรป และตรงจุดนี้เป็นหนึ่งในข้ออ้างที่มหาอำนาจนำมาใช้เพื่อแทรกแซงและคุกคาม สยามประเทศ ภายหลัง ต่างชาติยุโรปเองได้ยอมรับกรุงเทพมหานครว่า เป็นหนึ่งในเมืองที่มีผังเมืองงดงามที่สุดในโลกในสมัยนั้น

ต่อมาเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2514 รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจรได้รวม จังหวัดพระนคร และ จังหวัดธนบุรี เข้าด้วยกันเป็น นครหลวงกรุงเทพธนบุรี และภายหลังการปรับปรุงการปกครองใหม่เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515 จึงได้เปลี่ยนเป็นชื่อเป็น กรุงเทพมหานคร แต่นิยมเรียกกันว่า กรุงเทพฯ

ประวัติความเป็นมา

ปี พ.ศ. 2307 พม่ายกกองทัพมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ของไทย โดยมีมังมหานรธาเป็นแม่ทัพ ปรากฎว่าพม่าตีเมืองทางใต้ได้อย่างง่ายดาย จึงตีเรื่อยตลอดหัวเมืองทางใต้จนถึงเมืองเพชรบุรี ทางกรุงศรีอยุธยาได้ส่งกองทัพไทยซึ่งมีพระยาโกษาธิบดีกับพระยาตาก ไปรักษาเมืองเพชรบุรีไว้ จนตีพม่าแตกถอยไปทางด่านสิงขร

ต่อมาปี พ.ศ. 2308 พม่ายกกองทัพมาตีไทยอีก พระยาตากได้มาช่วยรักษาพระนครไว้ได้ จึงได้บำเน็จความดีความชอบในสงคราม จึงโปรดให้เลื่อนเป็น พระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองกำแพงเพชร แต่ยังไม่ทันได้ปกครองเมืองกำแพงเพชร ก็เกิดศึกกับพม่าครั้งสำคัญขึ้น จึงถูกเรียกตัวให้เข้ารับราชการในกรุง เพื่อป้องกันพระนคร จนถึงปี พ.ศ. 2309 ขณะที่ไทยกับพม่ากำลังรบกันอย่างดุเดือด พระยาวชิรปราการ เกิดท้อแท้ใจหลายประการคือ

1. พระยาวชิรปราการ คุมทหารออกไปรบนอกเมืองจนได้ชัยชนะยึดค่ายพม่าได้ แต่ทางผู้รักษาพระนครไม่ส่งกำลังไปหนุน ทำให้พม่าสามารถยึดค่ายกลับคืนได้

2. ขณะที่ยกทัพเรือออกรบร่วมกับพระยาเพชรบุรีนั้น พระยาวชิรปราการ เห็นว่าพม่ามีกำลังมากกว่าจึงห้ามมิให้พระยาเพชรบุรีออกรบ แต่พระยาเพชรบุรีไม่เชื่อฟัง ขืนออกรบ และพ่ายแพ้แกพม่าจนตัวตายในที่รบ พระยาวชิรปราการ ถูกกล่าวหาว่าทอดทิ้งให้พระยาเพชรบุรีเป็นอันตราย

3. ก่อนเสียกรุง 3 เดือน พม่ายกทัพเข้าปล้นพระนคร ทางด้านที่พระยาวชิรปราการรักษาอยู่ เมื่อเห็นจวนตัว พระยาวชิรปราการจึงยิงปืนใหญ่ขัดขวาง โดยมิได้ขออนุญาตจากศาลาลูกขุน จึงถูกฟ้องชำระโทษให้ภาคทัณฑ์

ด้วยสาเหตุดังกล่าว พระยาวชิรปราการเห็นว่าขืนอยู่ช่วยป้องกันพระนครต่อไป ก็ไม่มีประโยชน์อันใด และเชื่อว่ากรุงศรีอยุธยาต้องเสียแก่พม่าในครั้งนี้เป็นแน่

ด้วยผู้นำอ่อนแอ และไม่นำพาต่อราชการบ้านเมือง จึงรวบรวมสมัครพรรคพวกได้ประมาณ 500 คน ตีฝ่าวงล้อม ออกจากค่ายพิชัย มุ่งออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อรวบรวมกำลังกลับมากู้กรุงศรีอยุธยาต่อไป ครั้นถึงพ.ศ. 2310 พม่าก็ยกทัพตีพระนครและยกเข้าพระนครได้ นับเป็นเวลาที่พม่าล้อมค่ายอยู่ถึง 1 ปี 2 เดือน กรุงศรีอยุธยาจึงเสียแก่พม่า ในสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ จึงนับว่าเป็นพระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายของกรุงศรีอยุธยา หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแล้ว บ้านเมืองเกิดแตกแยก หัวเมืองต่างๆตั้งตัวเป็นใหญ่ ต่างคนต่างรวมสมัครพรรคพวก ตั้งเป็นก๊กต่างๆ ได้แก่ ก๊กสุกี้พระนายกอง ก๊กพระยาพิษณุโลก ก๊กเจ้าพระฝาง ก๊กเจ้าพระยานครศรีธรรมราช และก๊กเจ้าพิมาย

พระยาวชิรปราการได้จัดเตรียมกองทัพ สะสมเสบียงอาหาร ศาสตราวุธ และกองทัพเรืออยู่เป็นเวลา 3 เดือน ก็ยกกองทัพเรือเข้ามาทางปากน้ำเจ้าพระยา ตีเมืองธนบุรีแตก จับนายทองอินประหารแล้วเลยไปตีค่ายโพธิ์สามต้นจนแตกยับเยิน สุกี้พระนายกองตายในที่รบ ขับไล่พม่าออกไปพ้นแผ่นดินไทยสำเร็จ ในปี พ.ศ. 2310 ซึ่งใช้เวลากู้อิสรภาพกลับคืนจากพม่า ภายในเวลา 7 เดือนเท่านั้น

จากนั้น พระยาวชิรปราการจึงยกทัพกลับมากรุงธนบุรี และปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงพระนามว่า “สมเด็จพระบรมราชาที่ 4” แต่ประชาชนนิยมเรียกพระนามว่า “พระเจ้าตากสิน” เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2311 และสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีด้วย และต่อจากนั้นพระเจ้าตากสินก็ยกกองทัพไปปราบปรามก๊กต่างๆ จนราบคาบ ทรงใช้เวลารวบรวมอณาเขตอยู่ 3 ปี คือตั้งแต่ พ.ศ. 2311 - พ.ศ. 2313 จึงได้อณาเขตกลับคืนมา รวมเป็นพระราชอณาจักรเดียวกันดังเดิม

สมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 2325 สิริพระชนมายุได้ 48 พรรษา ทรงครองราชย์เป็นเวลา 15 ปี พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถ กอบกู้ประเทศชาติให้เป็นเอกราชอิสรภาพตราบเท่าทุกวันนี้ ประชาราษฎร์ผู้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จึงยกย่องถวายพระเกียรติพระองค์ท่านว่า “มหาราช” คณะรัฐบาล ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนทุกหมู่เหล่า ได้พร้อมใจกันสร้างอนุเสาวรีย์ เพื่อน้อมรำลึกในพระเกียรติประวัติ เกียรติยศ เกียรติคุณ ให้ปรากฎกับอนุชนตราบเท่าทุกวันนี้

กรุงเทพมหานครตั้งอยู่บนฝั่งที่ราบลุ่มของแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำสายสำคัญซึ่งถือเป็นเส้นเลือดใหญ่หล่อเลี้ยงคนไทยทั้งชาติ เนื่องจากมีที่ตั้งอยู่บริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตร ทำให้ประเทศไทยค่อนข้างมีสภาพอากาศร้อนชื้น

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี ได้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี โดยมีกรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวง ตั้งอยู่ใกล้บริเวณดินดอนสามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และด้วยลักษณะที่ตั้งเช่นนี้ ทำให้เป็นเมืองที่มีชัยภูมิเหมาะแก่การป้องกันการรุกราน และยังเป็นเมืองที่มีน้ำท่าอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเกษตรกรรม และได้ขยายขนาดพื้นที่เรื่อยมา

มูลเหตุที่ราชธานีใหม่จะได้นามว่ากรุงรัตนโกสินทร์นั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในเรื่องพระราชกรัณยานุสรณ์ว่า “การถือน้ำในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกนั้น ทรงพระราชศรัทธาเลื่อมใสมาก จึงได้ทรงสถาปนาพระอารามในพระบรมมหาราชวัง แล้วพระราชทานนามว่า วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เชิญพระพุทธปฏิมากรมาประดิษฐานไว้บนบุษบกทองคำในพระอุโบสถ แล้วจึงพระราชทานนาม พระนครใหม่ ให้ต้องกับการซึ่งมีพระพุทธมณีรัตนปฏิมากรแก้วมรกต พระองค์นี้เป็นศิริสำหรับพระนครนามซึ่งว่า รัตนโกสินทร์ นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวท่านรับสั่งว่า เพราะท่านประสงค์ความว่า เป็นที่เก็บรักษาไว้ขององค์พระมหามณีรัตนปฏิมากรพระองค์นี้มาก จึงยกไว้เป็นหลักพระนคร พระราชทานนามพระนคร ก็ให้ต้องกับพระนามพระมหามณีรัตนปฏิมากร พระองค์นี้ด้วย เพราะฉะนั้น เมื่อถึงการพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัจจาอันใหญ่นี้ จึงได้โปรดให้ข้าราชการมากระทำสัตย์สาบาน แล้วรับน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเฉพาะพระพักตร์พระมหามณีรัตนปฏิมากร

กรุงเทพมหานคร เดิมเรียกกันว่า" เมืองบางกอก" เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรง ปราบดาภิเษก เป็นปฐมกษัตริย์ แห่งราชวงศ์จักรี ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างเมืองบางกอกขึ้นเป็นเมืองหลวงใหม่แทน กรุงธนบุรี โดยสืบทอดศิลปวัฒนธรรม จากกรุงศรีอยุธยา ทรงทำพิธียกเสาหลักเมืองเมื่อวันที่เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 แล้วทรงเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2325 ทรงพระราชทานนามพระนครนี้ว่า

กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยามหาดิลกภพ นพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์ มหาสถานอมรพิมาน อวตารสถิต สักกะทัตติยะวิษณุกรรมประสิทธิ์

เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงเปลี่ยนนามพระนครจาก บวรรัตนโกสินทร์ เป็น อมรรัตนโกสินทร์ ต่อมาเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2514 รัฐบาลได้รวมจังหวัดพระนครและธนบุรีเป็น นครหลวงกรุงเทพธนบุรีและภายหลังการปรับปรุงการปกครองใหม่เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515 จึงได้เปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานคร แต่นิยมเรียกกันว่ากรุงเทพฯ กรุงเทพมหานครในปัจจุบันเป็นศูนย์กลางการปกครอง การสื่อสาร การพาณิชย์ การเงิน การธนาคาร การคมนาคมขนส่ง การศึกษา ฯลฯ แบ่งการปกครองเป็น 50 เขต

อาณาเขตของกรุงเทพฯ ในขั้นแรกถือเอาแนวคูเมืองเดิมฝั่งตะวันออกของกรุงธนบุรี คือ แนวคลองหลอด ตั้งแต่ปากคลองตลาดจนออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระปิ่นเกล้า เป็นบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ บริเวณที่สร้างพระราชวังนั้นเดิมเป็นที่อยู่อาศัยของพระยาราชเศรษฐีและชาวจีน ซึ่งได้โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายไปอยู่ที่สำเพ็ง ในการก่อสร้างพระราชวังโปรดเกล้าฯ ให้พระยาธรรมาธิบดี กับพระยาวิจิตรนาวีเป็นแม่กองคุมการก่อสร้าง ได้ตั้งพิธียกเสาหลักเมือง พระราชวังแล้วเสร็จ เมื่อ พ.ศ. 2328 จึงได้จัดให้มีพิธีบรมราชาภิเษกตามแบบแผน รวมทั้งงานฉลองพระนคร

แต่โดยทั่วไปแล้วเรียกขานกันในนามว่า “ กรุงรัตนโกสินทร์” ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กรุงรัตนโกสินทร์

ถูกยกฐานะขึ้นเป็นมณฑล (พ.ศ. 2449) เรียกว่า “ มณฑลกรุงเทพมหานคร” พ.ศ. 2458 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการปรับปรุง มณฑลและหัวเมืองได้ยกเลิกมณฑลกรุงเทพพระมหานคร แบ่งออกเป็น 2 จังหวัด คือ จังหวัดพระนคร และจังหวัดธนบุรี ตามลักษณะสถานที่ตั้ง บนฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกและตะวันตกตามลำดับ ในปีพุทธศักราช 2514 สมัยรัชกาลปัจจุบัน ได้ทำการรวม 2 จังหวัดนนี้เข้าเป็น “นครหลวงกรุงเทพธนบุรีและในปีถัดมาจึงเปลี่ยนเป็น “กรุงเทพมหานคร” สืบเนื่องมาทุกวันนี้

ในช่วงก่อร่างสร้างกรุงเทพฯ นี้สยามยังต้องผจญกับศึกสงครามรอบบ้านอยู่เสมอ รวมทั้งสงครามครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การรบระหว่างสยามกับพม่าด้วย นั่นคือศึกที่เรียกว่า"สงครามเก้าทัพ" ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าประดุง แห่งหงสาวดี กองทัพสยามสามารถขับไล่ทัพพม่าออกไปได้ในที่สุด หลังสงครามเก้าทัพพม่าต้องเผชิญหน้ากับประเทศนักล่าอาณานิคมอย่างอังกฤษ ทำให้สยามว่างเว้นศึกสงครามใหญ่ไปนาน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ทรงมีพระราชดำริให้ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมครั้งใหญ่ รวมทั้งการรวบรวทตำรับตำราจากหัวเมืองต่างๆ ที่รอดพ้นจากการถูกพม่าเผาเมื่อ ปี พ.ศ.2310 มาเก็บไว้ที่กรุงเทพฯ และในสมัยของพระองค์ได้มีการนำธรรมเนียมปฏิบัติของราชสำนักอยุธยามาใช้อย่างหนึ่งคือ มีการแต่งตั้งตำแหน่งอุปราชเสมืองเป็นกษัตริย์องค์ที่2 อุปราชองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์คือ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ซึ่งประทับอยู่ที่วังหน้า คนสยามจึงมักเรียกตำแหน่งอุปราชว่า "วังหน้า"

พระราชวังหน้านั้นปัจจุบันคือบริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โรงละครแห่งชาติ และวิทยาลัยนาฏศิลป์นั่นเอง รวมทั้งพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของท้องสนามหลวงก็เคยเป็นอาณาบริเวณของ วังหน้ามาก่อน เวลามีการก่อสร้างต่างๆบริเวณนี้เมื่อขุดลงไปในดินจึงมักพบ โบราณวัตถุหลายอย่าง โดยเฉพาะปืนใหญ่แบบโบราณ มีการขุดได้บริเวณนี้ หลายกระบอก

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ถือเป็นยุคทองของศิลปรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2352-2367) พระองค์ทรงใฝ่พระทัยในศิลปวัฒนธรรมมาก ทั้งทางด้านวิจิตรศิลป์ และวรรณคดี พระองค์ได้รับการยกย่องว่าเป็นกษัตริย์ผู้เป็นอัครศิลปิน ทรงสร้างและบูรณะวัดวาอารามจำนานมาก ที่สำคัญที่สุดคือโปรดเกล้าฯให้บูรณะ วัดสลักใกล้พระราชวังเดิมฝั่งธนบุรี จนยิ่งใหญ่สวยสง่ากลายเป็นวักประจำรัชกาลของพระองค์และพระราชทานนามว่า "วัดอรุณราชวรารามมหาวิหาร"

ความเป็นศิลปินเอกของพระองค์เห็นได้จากการที่พระองค์ทรงแกะสลักบานประตู หน้าวัดสุทัศน์ฯด้วยพระองค์เอง ผลงานอันวิจิตรชิ้นนี้ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกรุงเทพฯ นอกจากฝีพระหัตถ์เชิงช่างแล้ว ยังทรงพรัอัจฉริยภาพในทางกวีด้วย พระราชนิพนธ์ชิ้นสำคัญของพระองค์ บทละครเรื่อง อิเหนา และ รามเกียรติ์

นอกจากทรงพระราชนิพนธ์ด้วยพระองค์เองแล้ว ยังได้ชื่อว่าเป็นองค์อุปถัมภ์ บรรดาศิลปินและกวีด้วย ยุคนี้จึงเรียกได้ว่าเป็นยุคสมัยที่กวีรุ่งเรืองที่สุด กวีเอกที่ปรากฏในรัชกาลของพระองค์คือ พระศรีสุนทรโวหาร(ภู่) ที่คนไทย ทั่วๆไปเรียกว่า "สุนทรภู่"

ในด้านการต่างประเทศ พระองค์ทรงได้เริ่มฟื้นฟูความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตก ใหม่หลังจากหยุดชะงักไปตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยมีพระบรมราชานุญาตให้โปรตุเกตุเข้ามาตั้งสถานฑูตได้เป็นชาติแรก

เมื่อกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ได้ครอง ครองราชสมบัติต่อจากพระบิดา ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระ นั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2367-2394) ทรงมีความเชี่ยวชาญในการค้า ขายกับต่างประเทศมาก โดยเฉพาะกับประเทศจีน ในรัฐสมัยของพระ องค์ ราชสำนักสยามและจีนมีสัมพันธภาพที่แน่นแฟ้น สยามแต่ง สำเภาเดินทางไปค้าขายกับจีนปีละมากลำ ยุคสมัยของพระองค์นับ เป็นยุคทองของการค้าขาย ทรงทำให้เศรษฐกิจของประเทศมั่งคั่งขึ้น เงินทองเต็มท้องพระคลัง และทรงเก็บพระราชทรัพย์บางส่วนไว้ใน ถุง้า แดง ซุกซ่อนไว้ตามบัลลังก์ ซึ่งในเวลาต่อมาทรัพย์ในถุงแดงนี้มีส่วน ในการกู้ชาติสยาม ทรงเป็นกษัตริย์ผู้ทรงเคร่งครัดในศาสนาพุทธ ชาว ตะวันตกมักมองว่าพระองค์ ตึงและต่อต้าน ศาสนาอื่น แม้กระนั้นก็ ทรงอนุญาตให้มิชชั่นนารีจากอเมริกานำการแพทย์แผนตะวันตกเข้า มาเผยแพร่ได้

ในสมัยรัชกาลที่ 3 ประเทศสยามต้องรับบรรดาทูตต่างๆจากชาติตะวันตกที่เข้ามาทำ สัญญาทางการค้าบ้างแล้ว โดยเฉพาะการมาถึงของ เซอร์จอห์น เบาริ่ ง จากอังกฤษที่เข้ามาทำ สัญญาเบาริ่ง อันส่งผลอย่างใหญ่หลวงต่อง้า ประเทศสยามในเวลาต่อมา อย่างไรก็ตามผลจากการเปิดประเทศมา ปรากฏอย่างเด่นชัดในสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งทรงสนพระทัยในศิลปวิทยาการของตะวันตกมาก พระ องค์ทรงศึกษาวิชาการต่างๆ อย่างแตกฉาน ทรงเข้าใจภาษาบาลีเป็น อย่างดีตั้งแต่ครั้งที่ออกผนวชเป็นเวลาถึง 27 พรรษาก่อนทรงขึ้นครอง ราชย์ ส่วนภาษาอังกฤษนั้นทรงได้เรียนกับมิชชันนารีจนสามารถตรัส ได้เป็นอย่างดี นกจากนี้ยังมีความรู้ในวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆโดย เฉพาะดาราศาสตร์ ในยุคสมัยของพระองค์ขนบธรรมเนียมต่างๆ ในราชสำนักได้ เปลี่ยนไปมาก เช่น การแต่งกายเข้าเฝ้าของขุนนาง ทรงให้สวมเสื้อผ้า แบบตะวันตกแทนที่จะเปลือยท่อนบนเช่นสมัยก่อน หรือยกเลิก ประเพณีหมอบคลาน เป็นต้น

ส่วนในด้านการศาสนานั้นทรงตั้งนิกาย นิกายธรรมยุติ ขึ้นมา ซึ่งเป็นการเริ่มต้นการรวมอำนาจของคณธสงฆ์ซึ่งเคยกระจัดกระจาย ทั่วประเทศให้เขามาอยู่ที่ส่วนกลาง พระองค์นับว่าทรงเป็นกษัตริย์ผู้มี วิสัยทัศน์ยาวไกล และทรงตระหนักถึงภัยจากลัทธิล่าอาณานิคมของ ประเทศตะวันตกซึ่งในเวลานั้นเข้ายึดครองประเทศเพื่อนบ้านของ สยามจนหมดสิ้นแล้ว พระองค์ทรงมีพระราชดำริว่า ความเข้มแข็งแบบ ตะวันออกของสยามไม่สามารถช่วยให้ประเทศรอดพ้นจากการตกเป็น อาณานิคมได้ จึงทรงเน้นให้ประเทศสยามพัฒนาให้ทันสมัยเพื่อลด ความขัดแย้งกับชาติตวันตก

ยุคสมัยนี้กล่าวได้ว่าประเทศสยามเริ่มหันทิศทางไปสู่ตะวัน ตกแทนที่จะแข็งขืนอย่างประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งถึงที่สุดแล้วก็ไม่อาจสู้ ความได้เปรยบทางเทคโนโลยีของชาติตะวันตกได้ ในราชสำนักทรง จ้างครูฝรั่งมาสอนภาษาให้แก่พระราชโอรสและพระราชะดา ส่วนภาย นอกมีชาวต่างประเทศจำนวนมากที่มาประกอบกิจการในมืองสยาม สมัยนี้มีหนังสือพิมพ์ภาษาไทยออกมาเป็นครั้งแรก นั่นคือ บางกอกรี คอดเดอร์ ของหมอบัดเลย

การทำสนธิสัญญาทางการค้ากับประเทศตะวันตกทำให้ สยามต้องสูญเสีย สิทธิสภาพนอกอาณาเขต อังกฤษเป็นชาติแรกๆที่ ได้ประโยชน์สยามสามารถเก็บภาษีจากสินค้าของพ่อค้าอังกฤษได้ เพียงร้อยละ 3 และอังกฤษสามารถนำเข้าฝิ่นจากอินเดียได้โดยเสรี รวมทั้งสัญญาระบุให้สยามยกเบิกการผูกขาดการค้าข้าวโดยราช สำนัก ทำให้ข้าวกลายเป็นสินค้าออกที่สำคัญของสยามมานับศตวรรษ ต่อมาสยามก็ต้องทำสัญญาเช่นนี้กับชาติตะวันตกอื่นๆอีก ความสนใจในวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะด้านดาราศาสตร์เป็น เหตุให้พระองค์ต้องสวรรคต ในปี พ.ศ. 2411 ทรงคำนวณได้ว่าจะเกิด สุริยุปราคาเต็มดวงที่หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จึงเสด็จฯไปดู พร้อมกับเชิญคณะทูตานุทูตตามเสด็จไปชมด้วย แม้จะเป็นเรื่องที่ทำ ให้พระองค์ได้รับการยกย่องจากชาวตะวันตกมาก เพราะในเวลานั้น แม้แต่นักวิทยาศาสตร์ชาติตะวันตกก็มีเพียงไม่กี่คนที่สามารถคำนวณ การกิดสุรุยุปราคาได้อย่างแม่นยำ แต่กการเสด็จฯไปหว้ากอครั้งนั้น เป็นเหตุให้พระองค์ประชวรด้วยไข้มาลาเรีย และเสด็จสวรรคตในอีก สองสัปดาห์ต่อมา

เมื่อเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ พระราชโอรส ขึ้นครองราชย์ เป็นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว ด้วยพระชนมายุเพียง 15 ชันษา พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ใน ยุคสมัยที่บ้านเมืองจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง และทรงต้องเผชิญกับการ กดดันจากหลายด้าน ทั้งฐานอำนาจของกลุ่มวังหน้าและฝ่ายขุนนางที่ นำโดยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระ องค์ ในขณะที่แรงกดดันจากประเทศนักล่าอาณานิคมก็มิได้ลดละ แต่ โชคดีที่พระองค์รวมทั้งพระประยูรญาติได้รับการปูพื้นฐานมาเป็น อย่างดี ในสมัยของพระองค์บรรดาขุนนางต่างพระเนตรพระกรรณที่ พระองค์มีพระบรมราชโองการอยู่เสมอก็คือพระอนุชาของพระองค์ เป็นส่วนใหญ่ ขุนนางซึ่งมีบทบาทอย่างมากในสมัยนี้ก็คือ กรมพระยา ดำรงราชานุภาพ กรมพระยาเทววงศ์วโรปกรณ์ กรมหลวงประจักษ์ ศิลปคม เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นพระอนุชาของพระองค์ทั้งสิ้น ในยุคสมัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในประเทศสยาม พระองค์ถือเป็นกษัตริย์ที่ทรงปฏิรูปสังคมครั้งใหญ่ ทรงยกเลิกระบบ ทาสและการเกณฑ์แรงงานไพร่ หันมาใช้ระบบเก็บส่วนภาษีแทน ทรง ปฏิรูประบบการปกครองส่วนภูมิภาคด้วยการยกเลิกระบบประเทศราช และเจ้าครองนครเปลี่ยนผู้บริหารเป็นสมุหเทศาภิบาลซึ่งเป็นข้าราช การที่ส่งไปจากส่วนกลาง การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลให้ประเทศสยาม เป็นปึกแผ่นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนนับแต่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ การเตรียมพร้อมของพระองค์ต่อการคุกคามโดยประเทศ ตะวันตกนั้น ทรงส่งพระราชโอรสไปศึกษา ณ ดินแดนยุโรป โดยเฉพาะ ในประเทศรัสเซียและปรัสเซีย ทั้งเพื่อเตรียมคนไว้เพื่ออนาคต และเป็น การผูกสัมพันธ์กับราชสำนักยุโรปเพื่อถ่วงดุลอำนาจของอังกฤษและ ฝรั่งเศสที่ในเวลานั้นกำลังล่าอาณานิคมในภูมิภาคเอเซียอยู่

ในปี พ.ศ. 2435 ทรงตั้งกระทรวงเพิ่มขึ้นจาก 4 เป็น 12 กระทรวง บางกระทรวงก็ทรงแต่งตั้งพระอนุชาเป็นเสนาบดี บาง กระทรวงที่ต้องติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศก็ทรงจ้างผู้เชี่ยวชาญชาว ตะวันตกเป็นเสนาบดี รัชสมัยของพระองค์มีชาวตะวันตกเข้ามารับใช้ ประเทศสยามจำนวนมาก หลายท่านยังคงมีลูกหลานสืบสกุลในเมือง ไทยจนปัจจุบัน ครั้นพระราชโอรสของพระองค์สำเร็จการศึกษาจากยุโรป แล้วก็ได้เข้ามาเป็นกำลังในการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารครั้งใหญ่ โดยเฉพาะเป็นกำลังในการสร้างกองทัพบกและกองทัพเรือให้มี ความทันสมัยอย่างตะวันตก ในสมัยนี้ประเทศสยามต้องเผชิญกับการบีบคั้นโดยชาติ มหาอำนาจอย่างอังกฤษและฝรั่งเศส ทำให้สยามจำต้องเสียดินแดน ให้แก่มหาอำนาจทั้งสองไปเป็นจำนวนมากเพื่อแลกกกับเอกราชของประเทศ

เมื่อฝรั่งเศสเข้าครอบครองเวียดนามในปี พ.ศ. 2426 และ อังกฤษยึดครองมลายูและพม่าส่วนบนได้ในปี พ.ศ. 2429 ทำให้สยาม ตกอยู่ในสถานการณ์ลำบาก ต่อมาฝรั่งเศสส่งเรือรบมาปิดล้อมอ่าว ไทย ทำให้ต้องยอมเสียลาวและกัมพูชาให้ฝรั่งเศสไป ขณะเดียวกันก็ ต้องยำดินแดนทางภาคใต้ได้แก่ ปะลิส กลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี ดิน แดน ติดพม่าได้แก่ มะริด ทวาย ตะนาวศรี และดินแดนหัวเมืองเงี้ยว ในภาคเหนือให้แก่ประเทศอังกฤษ รวมแล้วสยามต้องเสียดินแดนให้ มหาอำนาจทั้งสองถึง 120,000 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไทยในปัจจุบัน

นอกจากต้องเสียดินแดนแล้วยังต้องจ่ายค่าปรับให้กับ ประเทศเหล่านั้นด้วย จึงต้องใช้เงินใน ถุงแดง ซึ่งรัชกาลที่ 3 เก็บซุก ซ่อนไว้นำมาจ่ายให้มหาอำนาจเหล่านั้น รัชกาลที่ 5 เคยเสด็จประพาสยุโรปถึงสองครั้งในปี พ.ศ. 2440 และ พ.ศ. 2450 เพื่อเป็นการผูกสัมพันธไมตรีกับราชสำนักต่างๆในยุ โรปให้แน่นแฟ้นขึ้น

ในรัชสมัยของพระองค์กล่าวได้ว่าสยามประเทศมีการพัฒนา อย่างก้าวกระโดด แม้จะต้องเสียเงินทองมากมายให้แก่มหาอำนาจ แต่เศรษฐกิจของสยามก็เฟื่องฟูโดยเฉพาะหากเทียบกับประเทศเอเซีย อื่นๆ หลังจากพระองค์เสด็จสวรรคต ปวงชนชาวไทยจึงพร้อมใจกัน ถวายพระสมัญนามแด่พระองค์ว่า พระปิยมหาราช ซึ่งหมายถึง กษัตริย์ทรงเป็นที่รักยิ่ง

สมัยเมื่อเจ้ามหาวชิราวุธ ขึ้นครองราชสมบัติต่อมา ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2453-2468) พระองค์ ทรงจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ดในประเทศอังกฤษ นโยบายปฏิรูปแบบตะวันตกส่งผลต่อสังคมไทยอย่างมหาศาล การเปลี่ยนแปลงอย่างแรกในปี พ.ศ. 2456 คือคนไทยต้องมี นามสกุลใช้ ในอดีตคนไทยใช้เพียงชื่อตัวไม่มีนามสกุล ซึ่งพระองค์มี พระราชดำริว่าไม่ทันสมัยอย่างชาวตะวันตก พระองค์จึงทรงพระราช ทานนามสกุลให้แก่ขุนนาและคหบดีกว่าร้อยสกุล รวมถึงการถวาย พระนามต้นแห่งกษัตริย์ในราชวงศ์จักรีว่า รามา ก็เกิดขึ้นในสมัยนี้ พระองค์ยังทรงยกเลิกธรรมเนียมให้ผู้หญิงไทยไว้ผมสั้นทรง ดอกกระมอย่างโบราณ และหันมาไว้ผมยาวแบบฝรั่ง และให้นุ่งผ้าถุง แทนโจงกระเบน ทรงจัดให้มีการศึกษาภาคบังคับทั่วประเทศ มีการตั้ง จุฬาลงกรณ์ขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในรัชสมัยของพระองค์ ในช่วง ท้ายของสงครามพระองค์ได้ส่งทหารไทยไปร่วมรบ ณ สมรภูมิยุโรป ด้วย นั่นทำให้ประเทศสยามได้รับการต้อนรับให้เข้าร่วมสันนิบาติชาติ ภายหลังสงคราม และภายหลังจากทหารอาสาชาวไทยกลับจาก สงคราม พระองค์ทรงเปลี่ยนธงชาติจากธงช้างเผือกบนพื้นแดงมาเป็น ธงไตรรงค์แบบปัจจุบันแทน

ในรัชสมัยนี้มีการแต่งตั้งเจ้านายในราชวงศ์และขุนนางใกล้ชิด ให้เป็นคณะรัฐมนตรีร่วมปรึกษาใกล้ชิดกับพระองค์ในการบริหาร ประเทศ และมีการตั้ง กองเสือป่า ขึ้นมาโดยมีพระองค์เองเป็นผู้ บัญชาการ กองเสือป่าที่ตั้งขึ้นมีลักษณะซ้ำซ้อนกับกองทัพ และหลาย ครั้งเสือป่าของพระองค์มีเรื่องมีราวกับทหารในกองทัพ ปมขัดแย้งเริ่ม เกิดขึ้นในหมู่ทหารจำนวนหนึ่ง กระทั่งประทุเป็นการก่อกบฎใน ร.ศ. 130 ที่เรียกว่า กบฏนายสิบ

รัชกาลที่ 6 ทรงโปรดการละครมาก ในราชสำนักสมัยนั้นมีการ เล่นละครกันอยู่เป็นประจำ และไม่ว่าจะเสด็จแปรพระราชฐานไปที่ใด ก็มักจะนำคณะละครของพระองค์โดยเสด็จไปด้วยเสมอ อย่างไรก็ตามพระองค์ทรงได้ชื่อว่าเป็นกษัตริย์ที่โปรดการ สร้างถาวรวัตถุ ได้ทรงสร้างพระตำหนักและพระราชวังไว้ตามจังหวัด ต่างๆเป็นจำนวนมาก อาทิ พระตำหนักดุสินธานี ที่กรุงเทพฯ พระราช วังสนามจันทร์ ที่นครปฐม พระราชวังบ้านปืน และพระราชนิเวศน์ มฤคทายวัน ที่เพชรบุรี เป็นต้น ผลจากการสร้างสิ่งเหล่านี้ทำให้เงินใน ท้องพระคลังที่สะสมมาสมัยรัชกาลที่ 5 ร่อยหรอลง จนเกิดปัญหาการ ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในช่วงปลายรัชกาล

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แม้ว่าจะทรง สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนอีตันของอังกฤษ แต่ดูเหมือนรัชกาลที่ 7 จะโปรดการทหารมากกว่า พระองค์ทรงเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจและ การบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ รัชกาลที่ 7 ทรงมีความห่วงใยพสก นิกรอย่างมาก ในรัชสมัยของพระองค์ สยามได้นำระบบไปรษณีย์และ โรเลขมาใช้ เริ่มมีการสร้างสนามบินขึ้นที่ทุ่งดอนเมือง น่าเสียดายที่ช่วงเวลานั้นไม่เปิดโอกาสให้พระองค์ได้ทรงทำ ตามแนวคิดในการบริหารประเทศของพระองค์ เพราะทรงครองราชย์ ในสมัยที่เศรษฐกิจทั่วโลกกำลังตกต่ำภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ข้าวซึ่งเป็นรายได้หลักของประเทศราคาตกต่ำอย่างมาก ภาวะเงิน เฟ้อที่ระบาทดไปทั่วโลกส่งผลกระทบต่อรัฐบาลของพระองค์อย่างหลีก เลี่ยงไม่ได้ประกอบกับการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเนื่องจากการใช้จ่าย อย่างฟุ่มเฟือยในรัชกาลก่อนหน้า แม้จะมีการปรับลดคาเงินบาทลง และนำเงินบาทในผูกอัตราแลกเปลี่ยนกับเงินปอนด์ของอังกฤษ แต่ก็ ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ วิกฤติการณ์เหล่านี้ส่งผลให้พระองค์ทรง เลือกที่จะตัดงบประมาณของราชสำนักลง ลดเงินเดือนข้าราชการ และมีการดุลข้าราชการจำนวนหนึ่ง เหตุการณ์นี้ส่งผลให้ข้าราชการ จำนวนหนึ่งเกิดความไม่พอใจ โดยเฉพาะคนหนุ่มที่เพิ่งสำเร็จการ ศึกษามาจากประเทศตะวันตกโดยเฉพาะในยุโรป

ในเวลานั้นกระแสการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบอบอำนาจใหม่ซึ่ง เรียกว่า ประชาธิปไตย ได้เริ่มขึ้น โดยเริ่มจากปัญญาชนรุ่นใหม่ซึ่ง เป็นสามัญชนที่ได้รับการศึกษามาจากยุโรป โดยเฉพาะจากอังกฤษ และฝรั่งเศส ในขณะที่พวกราชวงศ์มักนิยมไปศึกษาที่รัสเซียซึ่งยังปก ครองในระบบสมบูรณษญาสิทธิราช คนหนุ่มเหล่านั้นได้เห็นระบอบการปกครองแบบใหม่ และชื่น ชมในสิทธิความเท่าเทียมกันของประชาชน ขณะที่รัชกาลที่ 7 ทรง ตระหนักดีว่าประชาธิปไตยควรเริ่มใช้เมื่อประชาชนมีความพร้อมก่อน และพระองค์ทรงเห็นว่าในเวลานั้นคนไทยยังไม่พร้อมสำหรับระบบ ใหม่ พระองค์เคยมีพระราชปรารภว่า คนไทยควรมีจิตสำนึกทางการ เมืองเสียก่อน จึงค่อยนำระบบประชาธิปไตยมาใช้

ข่าวลือเรื่องการรัฐประหารแพร่สะพัดไปทั่ว ในวันฉลองครบรอบ 150 ปีแห่งราชวงศ์จักรีในปี พ.ศ. 2475 อีกสอง เดือนต่อมาในวันที่ 24 มิถุนายน ก็มีการรัฐประหารเกิดขึ้น และเป็น การสิ้นสุการปกครองในระบบสมบูรณาญาสิทธิราช การรัฐประหารเกิดขึ้นโดยกลุ่มบุคคลซึ่งใช้ชื่อว่า คณะ ราษฎร์ อันประกอบด้วยทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน แกนนำของกลุ่ม คณะราษฎร์ล้วนเป็นคนหนุ่มที่สำเร็จการศึกษามาจากยุโรป โดย เฉพาะกลุ่มที่เคยไปศึกษาอยู่ในประเทศฝรั่งเศส แกนนำฝ่ายพลเรือน คือ นายปรีดี พนมยงค์ นักกฎหมายหนุ่มจากฝรั่งเศส ส่วนฝ่ายทหารมี พันเอกหลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขีตสังคะ) นายทหารปืนใหญ่จาก ฝรั่งเศสเช่นกันเป็นผู้นำ คณะผู้ก่อการได้เชิญ พลเอกพระยา พหลพล พยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) นายทหารปืนใหญ่ผู้สำเร็จการศึกษามา จากปรัสเซียมาเป็นหัวหน้าคณะรัฐประหาร เนื่องจากเป็นนายทหาร ชั้นผู้ใหญ่ในกองทัพขณะนั้น

เช้าวันที่ 24 มิถุนายน ทหารในฝ่ายคณะราษฎร์ได้นำรถถัง และกำลังทหารจำนวนหนึ่งบุกยึดสถานที่สำคัญๆ ในกรุงเทพฯ ไว้ได้ หมด รวมทั้งทำการควบคุมตัวเจ้านายราชวงศ์ชั้นสูงเอาไว้เป็นตัว ประกันด้วย ขณะนั้นพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 กำลังเสด็จแปรพระราช ฐานอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล

แม้ฝ่ายคณะราษฎร์จะมีกำลังน้อยกว่าฝ่ายรัฐบาลมาก แต่เพื่อหลีกเลี่ยงการนองเลือด รัชกาลที่ 7 ทรงยินดีสละพระราชอำนาจ ของพระองค์ ยอมรับการเป็นกษัตริย์ซึ่งอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญใน ระบอบประชาธิปไตย

ต่อมาเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ได้จัดรูปการปกครองจากนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และเทศบาลนครหลวง มาเป็น กรุงเทพมหานครโดยรวมกิจการ ของนครหลวงกรุงเทพธนบุรี องค์การบริหารนครหลวง กรุงเทพ ธนบุรี เทศบาลนครหลวง และสุขาภิบาลในเขตนครหลวงมาเป็น “กรุงเทพ มหานคร“ และได้จัดระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครใหม่ เป็นลักษณะผสมระหว่างราชการบริหารส่วนกลางส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น แต่ให้มีฐานะ เป็นจังหวัด มีผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร เป็นข้าราชการการเมืองแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบ

ต่อมาได้เกิดความไม่สงบในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ทำให้มีการ เปลี่ยนแปลงฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ร่างรัฐธรรมนูญ แห่ง ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2517 ประกาศขึ้นใช้ โดยมีมาตรา 16 บัญญัติว่าการปกครอง ท้องถิ่นทุกระดับรวมทั้งนครหลวง ให้มีสภาท้องถิ่นและผู้บริหารหรือคณะผู้บริหาร ปกครองท้องถิ่น มาจากการเลือกตั้งของประชาชนในท้องถิ่น นั้น

ในปีพ.ศ.2518 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2518 ขึ้นใน วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2518 ซึ่ง พระราชบัญญัติ ฉบับดังกล่าวได้ยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 335 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 และ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2518 มาตรา 6 ได้บัญญัติให้กรุงเทพมหานคร แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็นเขต และแขวงสำหรับพื้นที่เขต คือ อำเภอเดิม ส่วนพื้นที่แขวงคือ ตำบลเดิม และพระราชบัญญัติ ฉบับดังกล่าวกำหนดให้กรุงเทพมหานครเป็นทบวงการเมืองมีฐานะเป็นราชการบริหาร ส่วนท้องถิ่นนครหลวงมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรองผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร มาจาก การเลือกตั้ง และเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารงานอยู่ในตำแหน่ง ตามวาระ คราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้งซึ่งกรุงเทพมหานครได้จัดให้มีการเลือกตั้ง ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภากรุงเทพมหานครขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2518

แต่การเลือกตั้งครั้งนั้น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและคณะมิได้ อยู่ในตำแหน่งจนครบ วาระ 4 ปีทั้งนี้เพราะได้เกิดการขัดแย้งกันอย่างรุนแรงทั้งใน ฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติจนไม่สามารถที่จะประสานกัน ได้จึงทำให้ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และสภากรุงเทพมหานครต้องพ้นจากตำแหน่งโดยคำสั่ง ของ นายกรัฐมนตรีนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ตามมาตรา 21 ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2519 เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2520

ด้วยเหตุ ตามมาตรา 21 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทำให้กรุงเทพมหานครเข้ายุคแห่งการมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภากรุงเทพมหานครมาจาก การแต่งตั้งอีกครั้งหนึ่ง และ เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2528 สภาผู้แทนราษฎร ก็ได้ลงมติรับหลักการเป็นเอกฉันท์ให้ความเห็นชอบกับพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการ กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 โดยพระราชบัญญัติดังกล่าว กำหนด ให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภา กรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขต ภายใน 30 วัน ซึ่งวันเลือกตั้งผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร กำหนดในวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ.2528 สำหรับสมาชิกสภาเขต ให้มี การ เลือกตั้งในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2528 ซึ่งนับเป็น ครั้งแรกที่กฎหมายกำหนดให้มีสมาชิกสภาเขต

สมุทรสงคราม

ประวัติศาสตร์จังหวัดสมุทรสงคราม

สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา

ผลจากการสำรวจของบุคคลหลายคนเชื่อว่า ผืนแผ่นดินในลุ่มน้ำเจ้าพระยาเคยเป็นทะเลมาก่อน ต่อมาเพื่อกระแสน้ำลำธารได้พัดพาเอาดินและทรายบนผืนแผ่นดินใหญ่ลงมาทับถมในอ่าว นับเป็นเวลาหลายพันปีเข้า อ่าวก็ตื้นเขินเป็นแผ่นดินงอกรุกทะเลออกไปเรื่อยๆ เมื่อประมาณ ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว ฝั่งทะเลอยู่ล้ำเข้ามาในผืนแผ่นดินใหญ่มาก คาดว่าพื้นที่ที่ตั้งอยู่บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำแม่กลอง ทั้งหมดในขณะนี้ยังไม่มี โดยเหตุนี้จึงถือได้ว่า ในสมัย ๒,๐๐๐ ปีมาแล้วนั้น เมืองสมุทรสงครามยังไม่เกิด

สมัยกรุงศรีอยุธยา

เท่านี้นักโบราณคดีคณะต่างๆ ได้สำรวจมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการสำรวจโดยทางราชการหรือส่วนตัว ยังไม่ปรากฏว่าได้พบโบราณสถานที่มีอายุก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยาสักแห่งเดียว ฉะนั้น จึงพอจะกล่าวได้ว่าจังหวัดสมุทรสงครามได้สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่เก่าไปกว่านั้น แต่ก็ยืนยันไม่ได้ว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ตอนกลาง หรือตอนปลายแต่จากจดหมายเหตุที่มองซิเออร์เซ-เบเรต์ ซึ่งอยู่ในคณะทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศสที่มี มองซิเออร์ เดอลาลูแบร์ เป็นหัวหน้าคณะเดินทางเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรีกับกรุงศรีอยุธยา รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๐ -๒๒๓๑ แต่ในตอนขากลับมองซิเออร์เซเบเรต์ ได้แยกคณะเดินทางกลับก่อน โดยเดินทางไปลงเรือกำปั่นฝรั่งเศสที่เมืองตะนาวศรี ซึ่งขณะนั้นเป็นเมืองท่าค้าขายทางทะเลที่สำคัญของไทย ระหว่างการเดินทาง เมื่อผ่านเมืองแม่กลอง มองซิเออร์เซเบเรต์ ได้บันทึกรายงานไว้ว่า

“ ณ วันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๒๓๐ ข้าพเจ้าได้ออกจาก (เมือง) ท่าจีน เพื่อไป (เมือง) แม่กลอง ตามทางระหว่างท่าจีนกับแม่กลองนี้ มีบางแห่งน้ำตื้น ต้องใช้กระบือลากเรือเหมือนวันก่อน แต่ตอนที่ตื้นวันนี้ยาวกว่าวานนี้และลำบากกว่าวานนี้มาก เวลาเย็นข้าพเจ้าได้ไปถึงเมืองแม่กลอง ซึ่งไกลจาก (เมือง) ท่าจีน ระยะทางประมาณ ๑๐ ไมล์ครึ่ง เมืองแม่กลองนี้เป็นเมืองที่ใหญ่กว่าเมืองท่าจีนและตั้งอยู่ริมแม่น้ำ ซึ่งเรียกกันว่าแม่น้ำแม่กลอง และอยู่ห่างทะเลประมาณ ๑ ไมล์ น้ำรับประทานในเมืองนี้ เป็นน้ำที่ดี เมืองแม่กลองนี้หามีกำแพงเมืองไม่ แต่มีป้อมเล็กๆ สี่เหลี่ยมอยู่ ๑ ป้อม มุมป้อมนั้นนี้มีหอรบอยู่ ๔ แห่ง แต่เป็นหอรบเล็กมาก ก่อด้วยอิฐ คูก็หามีไม่ แต่น้ำท่วมอยู่รอบป้อม กำแพงหรือรั้วในระหว่างหอรบนั้นทำด้วยเสาใหญ่ ๆ ปักลงในดิน และมีเคร่าขวางถึงกันเป็นระยะๆ”

จากข้อความในบันทึกฉบับนี้ บอกให้ทราบว่า เมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๐ ในรัชกาลสมเด็จพระ-นารายณ์มหาราช นั้น ตรงปากแม่น้ำแม่กลอง มีเมืองแม่กลองตั้งอยู่แล้ว ทั้งยังเป็นเมืองขนาดใหญ่พอสมควร เมื่อเปรียบเทียบกับเมืองท่าจีนที่ตั้งอยู่ปากแม่น้ำท่าจีน คือใหญ่กว่าเมืองท่าจีน (จังหวัดสมุทรสาครในปัจจุบัน) นอกจากนั้น ยังบอกให้ทราบว่า ขณะนั้นเมืองแม่กลองไม่มีกำแพงเมือง มีแต่ป้อมเล็กๆ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำหน้าเมืองเพียงป้อมเดียว และการเดินทางในสมัยกรุงศรีอยุธยา การเดินทางระหว่างกรุงศรีอยุธยากับเมืองตะนาวศรีที่จะสะดวกสบายนั้นต้องลงเรือจากกรุงศรีอยุธยามายังบางกอก ผ่านคลองและแม่น้ำต่างๆ ในคืนแรกจะพักแรมที่เมืองท่าจีน รุ่งขึ้นนั่งเรือผ่านเมืองแม่กลอง ไปพักที่เมืองเพชรบุรี แล้วเดินทางบกผ่านเมืองปราณ เมืองกุย เมืองแคลง แล้วถึงเมืองตะนาวศรี และลงเรือกำปั่นที่นั้น

ชื่อ “เมืองแม่กลอง” คงใช้ต่อมาอีกเป็นเวลานาน แล้วได้เปลี่ยนชื่อ เป็น “สมุทรสงคราม” แต่ยังหาหลักฐานยืนยันไม่ได้ว่าได้เปลี่ยนเมื่อใด เพราะจู่ๆ ก็พบเมืองสมุทรสงคราม สมุทรปราการ และสาครบุรี อยู่ในบัญชีรายชื่อหัวเมืองฝ่ายตะวันออก (ในรัชกาลที่ ๑ แห่ง ราชวงศ์จักรี) ในหนังสือ “คำให้การชาวกรุงเก่า” ซึ่งสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ประทานข้อสันนิษฐานไว้ว่า เป็นคำให้การที่เจ้าหน้าที่พม่าซักถาม ได้จากสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรและข้าราชการใหญ่น้อย ที่พม่าเก็บเอาตัวเป็นเชลยไปประเทศพม่า เมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. ๒๓๑๐ ซึ่งหมายความว่า เรื่องราวต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ในหนังสือเล่มนั้น ได้เกิดขึ้นหรือเป็นอยู่ในเมืองไทยก่อน พ.ศ. ๒๓๑๐ แสดงว่า เมืองแม่กลอง ได้เปลี่ยนชื่อเป็นเมืองสมุทรสงครามก่อน พ.ศ. ๒๓๑๐ นั่นเอง เว้นแต่ไม่ทราบว่าเป็นปีใด และจากหลักฐานในหนังสือกฎหมายตราสามดวงว่าด้วยพระราชกำหนดเก่าระบุไว้เรื่องการเรียกสินไหมพินัยคดีความ ได้ออกชื่อเมืองแม่กลอง เมืองสาครบุรี และเมืองสมุทรปราการ หมายความว่าในปี พ.ศ. ๒๒๖๕ เมืองนี้ยังคงเรียกว่า “เมืองแม่กลอง” อยู่ แต่ข้อความในพระราชกำหนดเก่าซึ่งตราขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมื่อ พ.ศ. ๒๒๙๙ ระบุว่าโปรดเกล้าฯ ให้พระยารัตนาธิเบศท์สมุหมนเทียรบาล เอาตัวขุนวิเศษวานิช (จีนอะปั่นเต็ก) ขุนทิพและหมื่นรุทอักษรที่บังอาจกราบบังคับทูล ขอตั้งบ่อนเบี้ยในแขวงเมืองสมุทรสงคราม เมืองราชบุรีและเมืองสมุทรปราการ ทั้งๆ ที่ได้มีกฎหมายรับสั่งห้ามไว้ก่อนแล้วมาลงโทษ

ฉะนั้น จึงเชื่อได้ว่า เมืองแม่กลองได้เปลี่ยนชื่อเป็นเมืองสมุทรสงคราม ในระหว่าง พ.ศ. ๒๒๖๕ (รัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ) กับ พ.ศ. ๒๒๙๙ (รัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ) หลังจากนั้นมาในทางราชการจึงเรียกชื่อเมืองนี้ว่า เมืองสมุทรสงคราม

อย่างไรก็ตาม น่าสังเกตว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ขณะที่เมืองแม่กลอง เมืองปากน้ำและเมืองท่าจีน ยังมีชื่อเป็นภาษาไทยๆ ไม่ได้เปลี่ยนเป็นภาษาสันสกฤต มีคำ “สมุทร” อยู่ข้างหน้านั้น ปรากฏในกฎหมายตราสามดวงพระอัยการนาทหารหัวเมือง กล่าวถึงตำแหน่งเจ้าเมืองแม่กลอง เมืองปากน้ำและเมืองท่าจีนว่า พระสมุทรสงคราม พระสมุทรปราการ และพระสมุทรสาคร จึงอาจเป็นได้ว่า ต่อมาภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเมืองทั้งสามตามราชทินนามของผู้ปกครองเมือง เช่น เมืองสมุทรสงคราม เมืองสมุทรปราการ และเมืองสมุทรสาคร

ประวัติด้านการทหาร

จากบันทึกที่ มองซิเออร์เซเบเรต์ ชาวฝรั่งเศสเขียนไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๐ ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตอนหนึ่งได้ยืนยันว่าเมืองแม่กลองไม่มีกำแพงเมือง มีแต่ป้อมเล็กๆ ตั้งอยู่หน้าเมืองป้อมเดียวเท่านั้น ป้อมดังกล่าวก่อด้วยอิฐ มุมทั้งสี่ของป้อมสร้างเป็นหอรบ ระหว่างหอรบมีรั้วสร้างด้วยเสาใหญ่ๆ ปักกั้น และว่ารอบๆ ป้อมไม่มีคูน้ำ แต่มีน้ำท่วมรอบป้อม ไม่แน่ใจว่าน้ำรอบป้อมนั้นท่วมอยู่เสมอหรือไม่ มองซิเออร์เซเบเรต์ อาจไปเห็นตอนน้ำขึ้นก็ได้ เพราะเมืองแม่กลองอยู่ใกล้ทะเล ระดับน้ำในแม่น้ำแม่กลองย่อมขึ้นๆ ลงๆ ตามการขึ้นลงของระดับน้ำทะเล อย่างไรก็ตามข้อความนี้แสดง ให้เห็นว่า ในสมัยอยุธยานั้นรัฐบาลได้มองเห็นความสำคัญของเมืองแม่กลองในด้านการทหารแล้ว จึงได้สร้างป้อมขึ้นไว้ป้องกันเรือรบข้าศึกที่จะเข้ามาทางปากน้ำแม่กลอง แต่ป้อมนี้สร้างเมื่อใด จะมีกำลังทหารไทยหน่วยใด หรือทหารต่างชาติมาประจำอยู่สักเท่าไร และจะเรียกป้อมนี้ว่า “ค่ายสมุทรสงคราม” อย่างที่บางท่านกล่าวไว้หรือไม่ยังไม่พบหลักฐาน สำหรับตัวป้อมบางท่านสันนิษฐานว่า น่าจะสร้างใน รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งก็ไม่แน่นักอาจจะสร้างไว้ก่อนหน้านั้นก็ได้

เนื่องจากเมืองสมุทรสงครามหรือเมืองแม่กลองตามที่ชาวบ้านเรียก ตั้งอยู่ห่างจากเส้นทางเดินทัพของพม่าที่จะผ่านเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา ดังนั้นในสมัยโบราณเมืองสมุทรสงคราม จึงได้รับการกระทบกระเทือนจากสงครามโดยตรงน้อยมาก ไม่เหมือนกับเมืองกาญจนบุรี เพชรบุรี และเมืองราชบุรีที่อยู่บนลำน้ำแม่กลองสายเดียวกันหรือประชิดกัน แต่การเกณฑ์คนไปรบร่วมกับกองทัพในกรุงนั้น ชาวแม่กลองต้องร่วมอยู่ด้วยทุกสงคราม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสงครามที่เกิดจากพม่ารุกผ่านเข้ามาด่านเจดีย์สามองค์ ด่านสิงขร และจากทางปักษ์ใต้ ผ่านเมืองปราณและเมืองกุย เพราะสมัยนั้นเมืองแม่กลองมีฐานะเป็นเมืองจัตวา หรือหัวเมืองชั้นใน อยู่ในเขตราชธานี เมื่อเกิดสงครามขึ้นชายฉกรรจ์ในเมืองแม่กลองจึงถูกเกณฑ์ไปเข้ากองทัพกรุงศรีอยุธยาตามพระราชกำหนด โดยมีเจ้าเมืองเป็นผู้บังคับบัญชาโดยใกล้ชิดไปด้วยทุกคราว

สมัยกรุงธนบุรี

ในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระที่นั่งสุริยามรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศน์) พระองค์ได้โปรดให้ยกกองทัพเรือมาตั้งค่ายที่ตำบลบางกุ้ง เรียกว่า “ค่ายบางกุ้ง” โดยสร้างกำแพงล้อมวัดบางกุ้งให้อยู่กลางค่ายเพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจและเป็นที่เคารพบูชาของทหาร

พ.ศ. ๒๓๑๐ หลังจากที่พม่าตีกรุงศรีอยุธยาแตกแล้ว ค่ายบางกุ้งก็ไม่มีทหารรักษาต่อมาในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดให้จีนรวบรวมพลพรรคมาตั้งเป็นกองทหารรักษาค่าย จึงเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า “ค่ายจีนบางกุ้ง”

พ.ศ. ๒๓๑๑ พระเจ้ากรุงอังวะ ให้เจ้าเมืองทวายยกทัพมาสืบข่าวสภาพบ้านเมืองในสมัยกรุงธนบุรีว่าสงบราบคาบหรือเกิดจลาจล เพราะช่วงนั้นเป็นระยะเวลาที่ไทยเรากำลังผลัดแผ่นดินใหม่ เจ้าเมืองทวายได้ยกพลเดินทัพทางบกเข้ามาทางไทรโยค และให้ยกทัพบกทัพเรือเข้ามาที่ค่ายตอ-กะออม แล้วเดินทัพล้อมค่ายจีนบางกุ้งไว้ นายทัพพม่าครั้งนั้นชื่อ แมงกี้มารหญ่ามีทหารยกมาด้วย ๒ หมื่นคนเศษ คณะกรรมการเมืองมีใบบอกเข้าไปยังกรุงธนบุรี ขอกำลังมาช่วยรบพม่า

เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงทราบข่าวศึก โปรดให้พระมหามนตรี (บุญมา) จัดกองทัพเรือ ๒๐ ลำ แล้วพระองค์ทรงเรือพระที่นั่งสุวรรณพิชัยนาวา เรือยาว ๑๘ วา ปากเรือกว้าง ๓ ศอกเศษ พลกรรเชียง ๒๘ คน พร้อมศาสตราวุธ ยกทัพมาถึงค่ายบางกุ้งในเวลากลางคืน และตีกองทัพพม่าจนแตกพ่ายไปสิ้น

พ.ศ. ๒๓๑๗ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ยกทัพไปรบพม่าที่ค่ายบางแก้ว เมืองราชบุรี เสด็จโดยเรือพระที่นั่ง กาบยาว ๑๓ ว่า ปากเรือกว้าง ๓ ศอกเศษ พลพาย ๔๐ คน ไพร่พลในกองทัพ ๘,๘๖๓ คน ปืนใหญ่น้อย ๒๗๗ กระบอก ได้หยุดกองทัพพักพล เสวยพระกระยาหารที่วัดกลางค่ายบางกุ้ง เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๑๗

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ครั้นต่อมาถึงแผ่นดินสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ประเทศไทยเกิดพิพาทกับประเทศญวนถึงกับทำสงครามกันด้วยเรื่องเจ้าอนุวงศ์ เมืองเวียงจันทร์การสงครามระหว่างญวนกับไทยในครั้งนั้น ใช้กองทัพบกและกองทัพเรือ และมีข่าวว่าญวนได้ขุดคลองลัดจากทะเลสาบออกมาอ่าวไทย มีท่าทีว่าญวนจะยกกำลังทางเรือมารุกรานไทย พระบาทสมเด็จพระนั่ง-เกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้สร้างป้อมขึ้นตามปากน้ำสำคัญๆ เป็นลำดับมา เริ่มแต่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาก่อน แล้วก็ปากแม่ท่าน้ำจีน ปากแม่น้ำแม่กลอง ปากแม่น้ำบางประกง และปากแม่น้ำจันทบุรี

สำหรับป้อมที่ปากแม่น้ำแม่กลองนั้น หนังสือ ”ตำนานเรื่องวัตถุต่างๆ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้าง” กล่าวว่า โปรดฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ (พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) เป็นแม่กองอำนวยการสร้างป้อมขึ้นที่ปากแม่น้ำหน้าเมืองสมุทรสงครามป้อมหนึ่ง เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๔ เสร็จแล้วพระราชทานนามว่า “ป้อมพิฆาตข้าศึก” เจ้ากรมป้อมมีนามว่าหลวงละม้าย แม้นมือฝรั่ง ปลัดป้อมมีนามว่าขุนฉมังแม่นปืน ส่วนป้อมเก่าที่สร้างไว้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยานั้น ไม่ทราบเรื่องราว อาจถูกรื้อลงก่อนสร้างป้อมใหม่ก็ได้

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงราชการเห็นว่าป้อมให้ประโยชน์ในการป้องกันน้อยมาก เนื่องจากความก้าวหน้าทางอาวุธยุทโธปกรณ์ จึงได้รื้อป้อมพิฆาตข้าศึกและกำแพงลง จัดตั้งกองโรงเรียนพลทหารเรือที่ ๑ ขึ้นแทน เมื่อ พ.ศ ๒๔๔๙ โดยโปรดให้นายพลเรือเอก พระมหาโยธา (ฉ่าง แสงชูโต) มาอำนวยการสร้างกองโรงเรียนพลทหารเรือดังกล่าวนี้ ใช้เป็นที่ฝึกอบรมทหารใหม่ที่เกณฑ์จากชายฉกรรจ์ในเมืองสมุทรสงคราม จำนวน ๑ ปี แล้วส่งเข้าไปผลัดเปลี่ยนทหารเก่าในกรุงเทพฯ พอถึง พ.ศ. ๒๔๖๕ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่-หัว ได้ยุบกองโรงเรียนพลทหารเรือ กระทรวงทหารเรือได้ยกอาคารและที่ดินให้กระทรวงมหาดไทย สำหรับใช้เป็นศาลากลางจังหวัดสมุทรสงคราม ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. ๒๔๖๘ เป็นต้นมา จนถึง พ.ศ. ๒๔๙๙ จึงได้ทำการปลูกสร้างศาลากลางจังหวัดใหม่ และโอนศาลากลางจังหวัดหลังเดิมให้กระทรวง สาธารณสุขใช้ในกิจการของโรงพยาบาลจังหวัดสมุทรสงคราม มาจนถึงปัจจุบันนี้

ศาลากลางจังหวัดสมุทรสงคราม สมัยเมื่อยังอยู่ที่บริเวณวัดใหญ่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้เสด็จเยี่ยมเมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๗ และได้ลงพระปรมาภิไธยว่า “๒๓ ก.ค. เช้า ๔ โมง มาเที่ยว เห็นเรียบร้อยดี จุฬาลงกรณ์ ปร.” สมุดเยี่ยมนี้จังหวัดยังเก็บรักษาไว้ และนอกจากนี้ จังหวัดสมุทรสงครามยังมีพระแสงราชศัตราวุธฝักทองด้ามทอง เก็บรักษาไว้ที่คลังจังหวัดสมุทรสงคราม พระแสงราชศัตราวุธนี้เป็นของพระราชทานในสมัย พระบาทสมเด็จพระ-จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เป็นธรรมเนียมว่า เวลาพระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปถึงเมืองนั้นๆ เจ้าเมืองจะต้องนำพระแสงราชศัตราวุธนี้มาทูลถวายคืนไว้ตลอดเวลาที่เสด็จประทับอยู่ที่เมืองนั้น เมื่อเสด็จกลับจึงพระราชทานคืนให้เป็นอาญาสิทธิ์ในการปกครองเมืองแก่เจ้าเมืองนั้นต่อไป

การเสด็จประพาสเมืองสมุทรสงคราม

สมัยโบราณนั้น ที่ว่าการอำเภออัมพวาเป็นของหลวงยังไม่มี นายอำเภอต้องปลูกบ้านเรือนของตนเองอยู่อาศัย แล้วใช้บ้านนายอำเภอนั้นเองเป็นที่ว่าการอำเภอด้วย นายอำเภออัมพวาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสต้นนั้น ปลูกบ้านอยู่ตรงหัวแหลม ตรงข้ามกับวัดท้องคุ้งปัจจุบัน นายอำเภอผู้นั้นมีนามว่า ขุนวิชิตสมรรถการพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ ๕ ได้เสด็จไปประทับที่บ้านถึงสองครั้งพร้อมด้วยเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย

มีเรื่องเล่าอยู่ในจดหมายเหตุเสด็จประพาสต้นว่า ดังนี้

“ เรือไฟลากล่องมาถึงแม่น้ำใหญ่จวนจะค่ำ หาที่ทำครัวเย็นก็ไม่ได้เหมาะ ล่องเรือลงมาเห็นบ้านแห่งหนึ่งสะอาดสะอ้านดี มีเรือนแพอยู่ริมน้ำ รับสั่งว่า ที่นี่เห็นพอจะอาศัยเขาทำครัวสักครั้งหนึ่ง ได้ให้กรมหลวงดำรง รับหน้าที่ขึ้นไปขออนุญาตต่อเจ้าของบ้าน กรมหลวงดำรงเสด็จขึ้นไต่ถาม ได้ความว่าเป็นบ้านนายอำเภอ นายอำเภอไปจัดฟืนเรือไฟที่ตรงข้ามบ้านอยู่แต่ภรรยา หารู้จักกรมหลวงดำรงไม่ ขออนุญาตทำครัวที่เรือนแพได้ดังที่ปรารถนา พอขนของขึ้นเรือนแพแล้ว กรมหลวงดำรงยังไม่ทันเสด็จลงมาจากเรือนใหญ่นายอำเภอก็กลับมาถึงไม่ทันเหลียวแลพระเจ้าอยู่หัวที่เรือนแพ มุ่งหน้าตรงขึ้นไปถวายคำนับเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยที่เรือนใหญ่ นายอำเภอเพ็ดทูลกรมหลวงดำรงยังไม่ทันได้กี่คำ นายอัษฎาวุธ ก็คลานศอกนำหนังสือรับสั่งไปถวายกรมหลวงดำรงว่า ขอให้เขารู้จักแต่กรมหลวงดำรงพระองค์เดียว ฉันนั่งดูท่านายอัษฎาวุธคลานเข้าเฝ้ากรมหลวงดำรง ทำท่าทางสนิทราวกับเป็นข้าไทย แต่กรมหลวงดำรงนั้นพออ่านหนังสือรับสั่งแล้วดูพระพักตร์สลด เห็นประทับนิ่งไม่รับสั่งว่ากระไร เป็นแต่พยักพระพักตร์ให้นายอัษฎาวุธกลับลงมา อีกสักครู่หนึ่งจึงได้ยินเสียงรับสั่งกับนายอำเภอและกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ถึงราชการงานเมืองอะไรอึงอยู่บนเรือน พวกกองครัวก็ทำครัวกันอยู่ที่เรือนแพ ทำเสร็จแล้วแต่งเครื่องให้คุณหลวงนายศักดิ์ เชิญขึ้นไปตั้งถวาย กรมหลวงดำรงเสวยพร้อมกับเครื่องเคราที่เจ้าของบ้านเขาหาถวาย ครั้นเสร็จแล้วเมื่อจะลงเรือ กรมหลวงดำรงเสด็จกลับจะลงเรือ นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านตามลงมาส่งเสด็จรุมมาตุ้ม พวกที่ไปตามเสด็จรับกระแสร์รับสั่งไว้ให้คลานรับเสด็จกรมหลวงดำรงเป็นอย่างข้าในกรม ส่วนพระเจ้าอยู่หัวเสด็จหลบออกไปบังเสียอยู่หลังเก๋งท้ายเรือ พระ-ราชทานอาสน์ไว้สำหรับกรมหลวงดำรงประทับ กรมหลวงดำรงเลยทรงไถลว่าเดือนหงายสบายดี จะยืนอยู่หน้าเก๋ง รีบสั่งให้ออกเรือ แต่พอพ้นหน้าบ้านก็รับสั่งบ่นใหญ่ว่าเล่นอย่างนี้ไม่สนุก แต่คนอื่นพากันหัวเราะกรมหลวงดำรงทั้งลำ…”

พระนามในจดหมายเหตุเสด็จประพาสต้นนี้ กรมหลวงดำรง คือสมเด็จกรมพระยาดำรง

ราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ในเวลานั้นยังเป็นกรมหลวงตามเสด็จในฐานะเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยด้วย

นายอัษฎาวุธ คือ สมเด็จพระเจ้าฟ้าอัษฎางเดชาวุธ กรมขุนนครราชสีมา พระราชโอรสพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามเสด็จด้วย

คุณหลวงนายศักดิ์ คือ พระยานิพัทธราชกิจ (อ้น นรพัลลภ)

เป็นอันว่าครั้งนี้นายอำเภอไม่ได้เฝ้าพระเจ้าอยู่หัว ทั้งที่เสด็จประทับอยู่บนบ้าน ได้เฝ้าแต่เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทราบภายหลังคงจะเสียใจอยู่เหมือนกัน เสด็จครั้งนี้คือ วันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๔๔๗

แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้นเมื่อเสด็จประพาสสมุทรสงครามอีกครั้งหนึ่ง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๑ ก็ทรงระลึกถึงขุนวิชิตสมรรถการจึงได้เสด็จไปเยี่ยมเยียนนายอำเภออัมพวาที่บ้านอีกหนหนึ่ง เมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๔๔๕ ทรงจดหมายเหตุไว้ว่า “แวะเยี่ยมขุนวิชิตสมรรถการ นายอำเภอ ซึ่งได้เคยปลอมไปบ้านเขาเมื่อมาเที่ยวครั้งก่อน”

การจัดรูปการปกครองเมืองตามระบบมณฑลเทศาภิบาล

หลังจากจัดหน่วยราชการบริหารส่วนกลาง โดยมีกระทรวงมหาดไทยในฐานะเป็นส่วนราช-การที่เป็นศูนย์กลางอำนวยการปกครองประเทศ และควบคุมหัวเมืองทั่วประเทศแล้วการจัดระเบียบการปกครอง ต่อมาก็มีการจัดตั้งหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาค ซึ่งมีสภาพและฐานะเป็นตัวแทนหรือหน่วยงานประจำท้องที่ของกระทรวงมหาดไทยขึ้น อันได้แก่ การจัดรูปการปกครองแบบเทศาภิบาล ซึ่งถือได้ว่าเป็นระบบการปกครองอันสำคัญยิ่งที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนำมาใช้ปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดินส่วนภูมิภาคในสมัยนั้น การปกครองแบบเทศาภิบาลเป็นระบบการปกครองส่วนภูมิภาคชนิดหนึ่ง ที่รัฐบาลกลางจัดส่งข้าราชการจากส่วนกลางออกไปบริหารราชการในท้องที่ต่างๆ ระบบการปกครองแบบเทศาภิบาล เป็นระบบการปกครองที่รวมอำนาจเข้ามาไว้ในส่วนกลางอย่างมีระเบียบเรียบร้อย และเปลี่ยนระบบการปกครองจากประเพณีการปกครองดั้งเดิมของไทย คือ ระบบกินเมือง ให้หมดไป

การปกครองหัวเมืองก่อนวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๓๕ นั้น อำนาจปกครองบังคับบัญชามีความหมายแตกต่างกันออกไปตามความใกล้ไกลของท้องถิ่น หัวเมืองหรือประเทศราชยิ่งไกลไปจากกรุงเทพฯ เท่าใดก็ยิ่งมีอิสระในการปกครองตนเองมากขึ้นเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากทางคมนาคมไปมาหาสู่ลำบาก หัวเมืองที่รัฐบาลปกครองบังคับบัญชาได้โดยตรงก็มีแต่หัวเมืองจัตวาใกล้ๆ ส่วนหัวเมืองอื่นๆ มีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครองแบบกินเมืองและมีอำนาจอย่างกว้างขวางในสมัยที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ดำรงตำแหน่งเสนาบดี พระองค์ได้จัดให้อำนาจการปกครองเข้ามารวมอยู่ยังจุดเดียวกัน โดยการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งปวง ซึ่งหมายความว่า รัฐบาลมิให้การบังคับบัญชาหัวเมืองไปอยู่ที่เจ้าเมือง ระบบการปกครองแบบเทศาภิบาลเริ่มจัดตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๗ จนถึง พ.ศ. ๒๔๕๘ จึงสำเร็จและเพื่อความเข้าใจเรื่องนี้เสียก่อนในเบื้องต้น จึงจะขอนำคำจำกัดความของ “การเทศาภิบาล” ซึ่งพระยาราชเสนา (สิริ เทพหัสดิน ณ อยุธยา) อดีตปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทยตีพิมพ์ไว้ ซึ่งมีความว่า

“การเทศาภิบาล คือ การปกครองโดยลักษณะที่จัดให้มีหน่วยบริหารราชการอันประกอบด้วยตำแหน่งข้าราชการต่างพระเนตรพระกรรณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเป็นที่ไว้วางใจของรัฐบาลของพระองค์ รับแบ่งภาระของรัฐบาลกลาง ซึ่งประจำแต่เฉพาะในราชธานีนั้นออกไปดำเนินงานในส่วนภูมิภาคอันเป็นที่ใกล้ชิดติดต่ออาณาประชากร เพื่อให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุขและความเจริญทั่วถึงกัน โดยมีระเบียบแบบแผนอันเป็นคุณประโยชน์แก่ราชอาณาจักรด้วย ฯลฯ จึงได้แบ่งส่วนการปกครองโดยขนาดลดหลั่นกันเป็นขั้นอันดับดังนี้คือ ส่วนใหญ่เป็นมณฑลรองถัดลงไปเป็นเมือง คือ จังหวัด รองไปอีกเป็นอำเภอ ตำบลและหมู่บ้านจัดแบ่งหน้าที่ราชการเป็นส่วนสัดแผนกงานให้สอดคล้องกับทำนองการของกระทรวงทบวงกรมในราชธานี และจัดสรรข้าราชการที่มีความรู้สติปัญญา ความประพฤติดี ให้ไปประจำทำงานตามตำแหน่งหน้าที่มิให้มีการก้าวก่ายสับสนกันดังที่เป็นมาแต่ก่อน เพื่อนำมาซึ่งความเจริญเรียบร้อย รวดเร็ว แก่ราชการและธุรกิจของประชาชน จึงต้องอาศัยทางราชการเป็นที่พึ่งด้วย”

จากคำจำกัดความดังกล่าวข้างต้น ควรทำความเข้าใจบางประการเกี่ยวกับการจัดระเบียบการปกครองแบบเทศาภิบาล ดังนี้

การเทศาภิบาล นั้น หมายความรวมว่า เป็น “ระบบ” การปกครองอาณาเขตชนิดหนึ่งซึ่งเรียกว่า “การปกครองส่วนภูมิภาค” ส่วน “มณฑลเทศาภิบาล” นั้น คือ ส่วนหนึ่งของการปกครองชนิดนี้ และยังหมายความอีกว่า ระบบเทศาภิบาลเป็นระบบที่รัฐบาลกลางจัดส่งข้าราชการส่วนกลางไปบริหารราชการในท้องที่ต่างๆ แทนที่ส่วนภูมิภาคจะจัดปกครองกันเองเช่นที่เคยปฏิบัติมาแต่เดิม อันเป็นระบบกินเมือง ระบบการปกครองแบบเทศาภิบาลจึงเป็นระบบการปกครองซึ่งรวมอำนาจเข้ามาไว้ในส่วนกลาง และริดรอนอำนาจของเจ้าเมืองตามระบบกินเมืองลงอย่างสิ้นเชิง

นอกจากนี้มีข้อที่ควรทำความเข้าใจอีกประการหนึ่ง คือ ก่อนการจัดระเบียบการปกครองแบบเทศาภิบาลนั้น ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ก่อนปฏิรูปการปกครองก็มีการรวมหัวเมืองเข้าเป็นมณฑลเหมือนกัน แต่มณฑลสมัยนั้นหาใช่มณฑลเทศาภิบาลไม่ ดังจะอธิบายโดยย่อดังนี้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช ทรงพระราชดำริจะจัดการปกครองพระราชอาณาเขตให้ มั่นคงและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทรงเห็นว่าหัวเมืองอันมีมาแต่เดิมแยกกันขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทยบ้าง กระทรวงกลาโหมบ้าง และกรมท่าบ้าง การบังคับบัญชาหัวเมืองในสมัยนั้นแยกกันอยู่ถึง ๓ แห่ง ยากที่จะจัดระเบียบปกครองให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเหมือนกันได้ทั่วราชอาณาจักร ทรงพระราชดำริว่า ควรจะรวมการบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งปวงให้ขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทยกระทรวงเดียว จึงได้มีพระบรมราชโองการแบ่งหน้าที่ระหว่างกระทรวงมหาดไทยกับกระทรวงกลาโหมเสียใหม่ เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๕ เมื่อได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยปกครองหัวเมืองทั้งปวงแล้ว จึงได้รวบรวมหัวเมืองเข้าเป็นมณฑลมีข้าหลวงใหญ่เป็นผู้ปกครอง การจัดตั้งมณฑลในครั้งนั้นมีอยู่ทั้งสิ้น ๖ มณฑล คือ มณฑลลาวเฉียงหรือมณฑลพายัพ มณฑลลาวพวนหรือมณฑลอุดร มณฑลลาวกาวหรือมณฑลอีสาน มณฑลเขมรหรือมณฑลบูรพา และมณฑลนครราชสีมา ส่วนหัวเมืองทางฝั่งทะเลตะวันตกบัญชาการอยู่ที่เมืองภูเก็ต

การจัดรวบรวมหัวเมืองเข้าเป็น ๖ มณฑลดังกล่าวนี้ ยังมิได้มีฐานะเหมือนมณฑลเทศาภิบาล การจัดระบบการปกครองมณฑลเทศาภิบาลได้เริ่มอย่างแท้จริงเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๓ เป็นต้นมา และก็มิได้ดำเนินการจัดตั้งพร้อมกันทีเดียวทั่วราชอาณาจักร แต่ได้จัดตั้งเป็นลำดับ ดังนี้

พ.ศ. ๒๔๓๗ เป็นปีแรกที่ได้วางแผนงานจัดระเบียบการบริหารมณฑลแบบใหม่เสร็จกระทรวงมหาไทยได้จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น ๓ มณฑล คือ มณฑลพิษณุโลก มณฑลปราจีนบุรี มณฑลนครราชสีมา ซึ่งเปลี่ยนแปลงจากสภาพมณฑลแบบเก่ามาเป็นแบบใหม่ และในตอนปลายนี้ เมื่อโปรดเกล้าฯ ให้โอนหัวเมืองทั้งปวงซึ่งเคยขึ้นอยู่ในกระทรวงกลาโหมและกระทรวงการต่างประเทศมาขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทยกระทรวงเดียวแล้ว จึงได้รวมหัวเมืองจัดเป็นมณฑลราชบุรีขึ้นอีกมณฑลหนึ่ง

พ.ศ. ๒๔๓๘ ได้รวมหัวเมืองจัดเป็นมณฑลเทศาภิบาลขึ้นอีก ๓ มณฑล คือ มณฑลนคร -ชัยศรี มณฑลนครสวรรค์ และมณฑลกรุงเก่า และได้แก้ไขระเบียบการจัดมณฑลฝ่ายทะเลตะวันตก คือ ตั้งเป็นมณฑลภูเก็ต ให้เข้ารูปลักษณะของมณฑลเทศาภิบาลอีกมณฑลหนึ่ง

พ.ศ. ๒๔๓๙ ได้รวมหัวเมืองมณฑลเทศาภิบาลอีก ๒ มณฑล คือ มณฑลนครศรีธรรมราช และมณฑลชุมพร

พ.ศ. ๒๔๔๐ ได้รวมหัวเมืองมะลายูตะวันออกเป็นมณฑลไทรบุรี และในปีเดียวกันนั้นเอง ได้ตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ขึ้นอีกมณฑลหนึ่ง

พ.ศ. ๒๔๔๓ ได้เปลี่ยนแปลงสภาพของมณฑลเก่าๆ ที่เหลืออยู่อีก ๓ มณฑล คือ มณฑลพายัพ มณฑลอุดร และมณฑลอีสาน ให้เป็นมณฑลเทศาภิบาล

พ.ศ. ๒๔๔๗ ยุบมณฑลเพชรบูรณ์ เพราะเห็นว่ามีแต่จะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย

พ.ศ. ๒๔๔๙ จัดตั้งมณฑลปัตตานีและมณฑลจันทบุรี มีเมืองจันทบุรี ระยอง และตราด

พ.ศ. ๒๔๕๐ ตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

พ.ศ. ๒๔๕๑ จำนวนมณฑลลดลง เพราะไทยต้องยอมยกมณฑลไทรบุรีให้แก่อังกฤษเพื่อแลกเปลี่ยนกับการแก้ไขสัญญาค้าขาย และเพื่อจะกู้ยืมเงินอังกฤษมาสร้างทางรถไฟสายใต้

พ.ศ. ๒๔๕๕ ได้แยกมณฑลอีสานออกเป็น ๒ มณฑล มีชื่อใหม่ว่า มณฑลอุบลและมณฑลร้อยเอ็ด

พ.ศ. ๒๔๕๘ จัดตั้งมณฑลมหาราษฎร์ขึ้น โดยแยกออกจากมณฑลพายัพ

การจัดรูปการปกครองในสมัยปัจจุบัน

การปรับปรุงระเบียบการปกครองหัวเมืองเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศมาเป็นระบอบประชาธิปไตยนั้น ปรากฏตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. ๒๔๗๖ จัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอ จังหวัดมีฐานะเป็นหน่วยบริหารราชการแผ่นดิน มีข้าหลวงประจำจังหวัดและกรมการจังหวัดเป็นผู้บริหาร เมื่อก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง นอกจากจะแบ่งเขตการปกครองออกเป็นจังหวัดและอำเภอแล้ว ยังแบ่งเขตการปกครองออกเป็นมณฑลอีกด้วย เมื่อได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. ๒๔๗๖ จึงได้ยกเลิกมณฑลเสีย เหตุที่ยกเลิกมณฑลน่าจะเนื่องจาก

๑. การคมนาคมสื่อสารสะดวกและรวดเร็วขึ้นกว่าแต่ก่อน สามารถที่จะสั่งการและตรวจตราสอดส่องได้ทั่วถึง

๒. เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายของประเทศให้น้อยลง

๓. เห็นว่าหน่วยมณฑลซ้อนกับหน่วยจังหวัด จังหวัดรายงานกิจการต่อมณฑล มณฑลรายงานต่อกระทรวง เป็นการชักช้าโดยไม่จำเป็น

๔. รัฐบาลในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ๆ มีนโยบายที่จะให้อำนาจแก่ส่วนภูมิภาคยิ่งขึ้น และการที่ยุบมณฑลก็เพื่อให้จังหวัดมีอำนาจนั่นเอง

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินอีกฉบับหนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับจังหวัดมีหลักการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ดังนี้

๑. จังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล แต่จังหวัดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ ๒๔๗๖ หามีฐานะเป็นนิติบุคคลไม่

๒. อำนาจบริหารในจังหวัด ซึ่งแต่เดิมตกอยู่แก่คณะบุคคล ได้แก่ คณะกรมการจังหวัดนั้นได้เปลี่ยนแปลงมาอยู่กับบุคคลเดียว คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด

๓. ในฐานะของคณะกรมการจังหวัด ซึ่งแต่เดิมเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในจังหวัด ได้กลายเป็นคณะเจ้าหน้าที่ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด

ต่อมา ได้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตามนัยประกาศของคณะปฎิวัติ ฉบับที่ ๒๑๘ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๑๕ โดยจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็น

๑. จังหวัด

๒. อำเภอ

จังหวัดนั้นให้รวมท้องที่หลายๆ อำเภอขึ้นเป็นจังหวัด มีฐานะเป็นนิติบุคคล การตั้งยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ และให้มีคณะกรมการจังหวัดเป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด ในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น

clip_image001

ที่มา : ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดสมุทรสงคราม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อักษรพัฒนา, ๒๕๒๖.

สมุทรสาคร

ประวัติศาสตร์จังหวัดสมุทรสาคร

สมุทรสาครเป็นดินแดนที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจตั้งแต่สมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ แห่งกรุงศรีอยุธยา จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์

สมุทรสาครเดิมชื่อบ้านท่าจีนเป็นชุมนุมชนใหญ่ อยู่บริเวณอ่าวไทย มีทำเลที่เหมาะสมในการพาณิชย์มาก มีเรือสำเภาค้าขายจากประเทศจีนมาจอดเทียบท่าที่นี่ ขนถ่ายซื้อขายสินค้ากันจนเป็นที่รู้จักกันทั่ว ใครอยากจะค้าขายกับเรือสำเภาจีนก็ต้องมาที่นี่ มีชื่อเรียกกันติดปากมาแต่เดิมว่า "ท่าจีน" แต่ยังมิได้มีฐานะเป็นเมืองคงเป็นหมู่บ้านชุมชนแห่งหนึ่งเท่านั้น เมื่อครั้งสังฆราช ปาลเลกัวส์ เดินทางไปเยี่ยมพวกคริสตังชาวจีน ที่กระจัดกระจายอยู่ทางทิศตะวันออกได้กล่าวถึงท่าจีนว่า ".....เป็นเมืองสวยงามมีพลเมืองประมาณ ๕๐,๐๐๐ คน ส่วนมากเป็นชาวประมง และพ่อค้า ที่ตั้งจังหวัดอยู่ห่างทะเล ๒ ลี้ เป็นทำเลเหมาะในการประมงและการพาณิชย์จึงมีสำเภาจีนมาติดต่อค้าขายอยู่เสมอ"

ในสมัยพระมหาจักรพรรดิ ราชวงศ์สุพรรณภูมิ (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๐๙๑ - พ.ศ. ๒๑๑๑) แห่งกรุงศรีอยุธยาหลังสงครามเสียสมเด็จพระศรีสุริโยทัย พ.ศ. ๒๐๙๒ ได้ยกฐานะบ้านท่าจีนเป็นเมือง "สาครบุรี" ตามแผนการเกณฑ์ชายฉกรรจ์ที่อยู่กระจัดกระจายตามหัวเมืองต่าง ๆได้อย่างรวดเร็ว ยามเมื่อเกิดศึกสงคราม ดังปรากฏอยู่ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๐๗ หน้า ๖๐ ว่า "สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชตรัสว่า ไพร่บ้านพลเมือง ตรี จัตวา ปากไต้เข้าพระนครครั้งนี้น้อย หนีออกอยู่ป่าดงห้วยเขาต้อนไม่ได้เป็นอันมาก ให้เอาบ้านท่าจีนตั้งเป็น สาครบุรี" และข้อความในพงศาวดาร ไทยรบพม่าว่า ".......เพื่อจะให้สะดวกแก่การเรียกหาผู้คนเวลาเกิดศึกสงคราม จึงให้ตั้งเมืองขึ้นใหม่อีก ๓ เมือง คือ ยกบ้านตลาดขวัญเป็นเมืองนนทบุรี เมือง ๑ ยกบ้านท่าจีนเป็นเมืองสาครบุรีเมือง ๑ แบ่งเอาเขตเมืองราชบุรีกับเมืองสุพรรณบุรีมารวมกัน ตั้งเป็นเมืองนครไชยศรีขึ้นอีกเมือง ๑"

หลวงวิจิตรวาทการ ได้กล่าวไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์สากลเล่ม ๓ ว่า "หลังจากสงครามกับเขมร (พ.ศ. ๒๐๙๙)........สมเด็จพระมหาจักรพรรดิยังให้ตรวจบัญชีสำมะโนครัวราษฎร ได้จำนวนชายฉกรรจ์ในมณฑลราชธานีถึงแสนเศษ แล้วจัดระเบียบการระดมพลให้สะดวกขึ้นกว่าแต่ก่อน ในการนี้ให้ตั้งเมืองชั้นในเพิ่มขึ้นหลายเมือง คือ ตั้งบ้านท่าจีนขึ้นเป็นเมืองสาครบุรี เมือง ๑......"

สรุปความตรงกันว่า บ้านท่าจีนได้ยกขึ้นเป็นเมืองสาครบุรี ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เพื่อสะดวกแก่การเรียกหาผู้คนเวลาเกิดศึกสงคราม และสะดวกแก่การปกครอง

ในสมัยแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ได้ยกเมืองสาครบุรีขึ้นกับกรมท่า ดังปรากฏในประชุมพงศาวดารว่า ".......แบ่งหัวเมือง ขึ้นกลาโหม มหาดไทย กรมท่า ในรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์........ยังคงเมืองขึ้นกรมท่าอีก ๘ เมือง คือ เมืองนนทบุรี ๑ เมืองสมุทรปราการ ๑ เมืองสาครบุรี ๑......."

ในรัชกาลที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๕๒ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์เป็นแม่ทัพยกไปปราบพม่าที่เมืองถลาง และเมืองชุมพร ในการเดินทัพทางเรือ ผ่านธนบุรี ท่าจีน แม่กลองบ้านแหลม และเพชรบุรี นายนรินทร์ธิเบศร์ (อิน) ได้ตามเสด็จคราวนี้ด้วย และแต่งโคลงนิราศ

นริทร์ มีความตอนที่กล่าวถึง สมุทรสาคร ว่า

มหาชัยชัยฤกษ์น้อง นาฏลง โรงฤา

รักร่วมพุทธมนต์สงฆ์ เสกซ้อม

เสียดเศียรแม่ทัดมง คลคู่ เรียมเอย

ชเยศชุมญาติห้อม มอบให้สองสม

ท่าจีนจีนจอดถ้า คอยถาม ใดฤา

จีนช่วยจำใจความ ข่าวร้อน

เยียวมิ่งแม่มาตาม เตือนเร่ง ราแม่

จงนุชรีบเรียมข้อน เคร่าถ้า จีนคอย

ในปี พ.ศ. ๒๓๙๐ ปีมะแม พระยามหาเทพให้จมื่นทิพเสนา (เอี่ยม) ออกไปจับฝิ่นอ้ายจีนเผียว ซึ่งตั้งตนเป็นตั้วเหี่ยที่ลัดตรุด แขวงสาครบุรี มีการจับกุมหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายเมื่อวันอังคาร เดือน ๔ ขึ้น ๑๐ ค่ำ (๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๙๐) พระยามหาเทพไปกับพระสวัสดิวารีพร้อมกับเกณฑ์กรมการเมืองสาครบุรี และชาวบ้านไปช่วย เกิดการต่อสู้กันขึ้น พระยามหาเทพได้รับบาดเจ็บ อ้ายจีนเผียวตั้งใจจะหนีเข้าอังกฤษ รัชกาลที่ ๓ โปรดให้พระยาพระคลังคุมพวกตำรวจในพระยามหาเทพกับกองรามัญไปตั้งที่สาครบุรี และมีหนังสือถึงผู้รักษาเมืองสมุทรสงคราม ราชบุรี ให้ตีสกัดจีนเผียวลงมา ในที่สุดสามารถจับจีนเผียวตั้วเหี่ยได้ที่ราชบุรี

ครั้งต่อมาในสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ได้โปรดเกล้าให้เปลี่ยนชื่อเมืองสาครบุรี เป็นเมือง สมุทรสาคร ดังปรากฏอยู่ในพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงษ์ว่า "……เมืองขึ้นกรมท่าเรือเมืองนนทบุรีศรีมหาสมุทร แปลงเป็นเมืองนนทบุรีศรีมหาอุทยาน เมืองสาครบุรีแปลงเป็นเมืองสมุทรสาคร เกาะกงให้ชื่อเมืองประจันตคีรีเขตต์รวม ๓ เมือง

ในสมัยรัชกาลที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๓๘ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งมณฑลนครไชยศรี มีเมืองปกครอง ๓ เมือง คือ นครชัยศรี สุพรรณบุรี สมุทรสาคร

เมืองสมุทรสาคร เดิมมีอำเภอขึ้นอยู่ในความปกครอง รวม ๓ อำเภอ คือ อำเภอเมืองสาคร อำเภอบางโทรัด อำเภอกระทุมแบน ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๔๖ ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่ออำเภอบางโทรัด เป็นอำเภอ "บ้านบ่อ" ให้ตรงกับชื่อตำบลที่ตั้งอำเภอ เพราะอำเภอบางโทรัด ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลบ้านบ่อ

พ.ศ. ๒๔๕๖ เปลี่ยนชื่อเมืองนครชัยศรี เป็น เมืองนครปฐม

ในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการให้ทางราชการเปลี่ยนคำว่า "เมือง" เป็น "จังหวัด" ทั่วทุกแห่งในพระราชอาณาจักร เมืองสมุทรสาครจึงเปลี่ยนเป็น "จังหวัดสมุทรสาคร" มาจนทุกวันนี้

ต่อมาได้มีแจ้งของกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ว่า ได้ทรงทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทว่า อำเภอบ้านบ่อ จังหวัดสมุทรสาคร มณฑลนครชัยศรี ซึ่งตั้งที่ว่าการอำเภอบ้านบ่อ แต่เดิมเป็นตำบลลับ เวลานี้การไปมาค้าขายของราษฎร ได้ไปประชุมกันอยู่ทางคลองดำเนินสะดวก ตำบลบ้านแพ้ว จึงเป็นตำบลที่สำคัญอย่างยิ่ง และทั้งตำบลบ้านบ่อกับตำบลที่ใกล้เคียง ราษฎรจะไปมาติดต่อกับอำเภอเมืองสมุทรสาคร สะดวก เพราะมีรถไฟไปมาได้ในวันเดียว อีกประการหนึ่งท้องถิ่นที่อำเภอสามพรานมาขึ้นได้อีกหลายตำบล สะดวกแก่การปกครองขึ้นอีก

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมท้องที่ตำบลต่างๆ คือ แยกเอาตำบลดอนไผ่ ๑ ตำบลบ้านแพ้ว ๑ ตำบลเจ็ดริ้ว ๑ ตำบลคลองตัน ๑ จากอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐมรวม ๔ แห่ง แบ่งออกตำบลอำแพงของอำเภอเมืองสมุทรสาคร ๑ ตำบล รวมกับตำบลโรงเข้และตำบลหลักสาม ของอำเภอบ้านบ่อ รวม ๗ ตำบลด้วยกัน เป็นอำเภอหนึ่ง ตั้งที่ว่าการที่ตำบลบ้านแพ้ว เรียกว่าอำเภอบ้านแพ้วขึ้นจังหวัดสมุทรสาคร

ส่วนอำเภอบ้านบ่อเก่า ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านบ่อนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมกับตำบลบางกระเจ้า ๑ ตำบลบางโทรัด ๑ ตำบลกาหลง ๑ ตำบลนาโคก ๑ เข้ากับตำบลบ้านบ่อเป็น ๕ ตำบลด้วยกัน ตั้งขึ้นเป็นกิ่งอำเภอเรียกว่า "กิ่งอำเภอบ้านบ่อ" ขึ้นกับอำเภอเมืองสมุทรสาคร ตั้งแต่วันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ เป็นต้นไป จังหวัดสมุทรสาคร มีอำเภอและกิ่งอำเภอขึ้นอยู่ในปกครอง ๓ อำเภอ กับ ๑ กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองสมุทรสาคร อำเภอกระทุ่มแบน อำเภอบ้านแพ้ว และกิ่งอำเภอบ้านบ่อ ขึ้นกับอำเภอเมือง

เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๙ สมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลนครชัยศรีได้ไปตรวจราชการที่กิ่งอำเภอบ้านบ่อ เห็นการงานแผนกมหาดไทย แผนกอัยการ มีน้อย ส่วนแผนกสรรพากรมีมาก เห็นว่าควรรวมการงานแผนกมหาดไทยและแผนกอัยการกับอำเภอเมืองสมุทรสาคร มณฑลนครชัยศรีจึงได้คำสั่งที่ ๑๗๓/๘๙๕ ลงวันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๙ ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ให้สั่งปลัดกิ่งอำเภอบ้านบ่อ และเสมียนพนักงานขนสรรพราชการทั้งปวงในแผนกมหาดไทย และแผนกอัยการมารวมทำการอยู่ที่อำเภอเมืองสมุทรสาคร ส่วนกิ่งอำเภอนั้น ให้มีเจ้าพนักงานสรรพากร ๒ คน ตรวจเก็บภาษีอากรด่านและประจำที่ไปตามเดิม ตั้งแต่วันที่ได้รับคำสั่งนี้เป็นต้นไป

ต่อมาสมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลนครชัยศรี ได้มีคำสั่งที่ ๑๕๗๘/๑๙๒๓๙ ลงวันที่ ๒๗ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๗๐ ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาครว่า เนื่องจากทางราชการได้แบ่งตำบลในท้องที่อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม กับตำบลในท้องที่อำเภอกระทุ่มแบน อำเภอเมืองสมุทรสาคร กิ่งอำเภอบ้านบ่อ จังหวัดสมุทสาครไปตั้งเป็นอำเภอบ้านแพ้วขึ้นในจังหวัดสมุทรสาครเสียแล้วนั้น กิ่งอำเภอบ้านบ่อคงเหลือเพียง ๕ ตำบล ต่อมาราชการสำหรับกิ่งอำเภอบ้านบ่อน้อยลง ตลอดทั้งการไปมาระหว่างอำเภอเมืองสมุทรสาครกับกิ่งอำเภอบ้านบ่อสะดวกขึ้น มณฑลเห็นว่าไม่จำเป็นต้องมีกิ่งอำเภอบ้านบ่ออีกต่อไป จึงได้ขออนุญาตยุบกิ่งอำเภอบ้านบ่อกับยกราชการและย้ายปลัดกิ่งอำเภอและเสมียนพนักงานไปรวมทำที่อำเภอเมืองสมุทรสาครเข้าไปยังกระทรวงมหาดไทย และได้รับท้องตราพระราชสีห์น้อย ที่ ๔๐๐/๑๔๔๐๗ ลงวันที่ ๑๖ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๗๐ อนุญาตให้ยุบกิ่งอำเภอนั้นแล้วและให้จัดการแก้ทำเนียบท้องที่เสียให้ถูกต้อง

ตั้งแต่วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ เป็นต้นไป จังหวัดสมุทรสาครมีอำเภอขึ้นอยู่ในความปกครองรวม ๓ อำเภอ คือ อำเภอเมืองสมุทรสาคร อำเภอกระทุ่มแบน และอำเภอบ้านแพ้วส่วนกิ่งอำเภอบ้านบ่อยุบไปขึ้นกับอำเภอเมืองสมุทรสาคร

ครั้นเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๖ ทางราชการได้ยุบจังหวัดสมุทรสาครไปรวมกับจังหวัดธนบุรี อำเภอเมืองสมุทรสาคร อำเภอกระทุ่มแบน และอำเภอบ้านแพ้ว จึงต้องไปขึ้นอยู่ในความปกครองของจังหวัดธนบุรี และอำเภอเมืองสมุทรสาครจึงต้องเปลี่ยนชื่อ เป็น "อำเภอสมุทรสาคร"

ต่อมาเมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ ทางราชการได้แยกการปกครองท้องที่ของจังหวัดสมุทรสาครเดิมออกจากจังหวัดธนบุรี และยกฐานะเป็นจังหวัดขึ้นใหม่เรียกว่า จังหวัดสมุทรสาคร อำเภอเมืองสมุทรสาคร อำเภอกระทุ่มแบน และอำเภอบ้านแพ้ว จึงได้มาขึ้นอยู่ในความปกครองของจังหวัดสมุทรสาคร และอำเภอสมุทรสาครก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอเมืองสมุทรสาครตามเดิม

ในวันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลรัชกาลที่ ๘ เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์มาเพื่อเยี่ยมทุกข์สุขของราษฎรนับเป็นเหตุการณ์สำคัญที่ชาวจังหวัดสมุทรสาครปลาบปลื้มปิติเป็นอันมาก

ประชาชนนิยมเรียก จังหวัดสมุทรสาครว่า "มหาชัย" ตามชื่อคลองมหาชัย ซึ่งเป็นคลองที่ขุดในสมัยสมเด็จพระสรรเพชญที่ ๘ (พระเจ้าเสือ) แห่งกรุงศรีอยุธยา เพื่อตัดความคดเคี้ยวของคลองโคกขาม แต่เดิมเริ่มต้นจากคลองด่าน วัดหัวหมู เขตเมืองธนบุรี จนถึงคลองโคกขาม เรียกว่า "คลองพระพุทธเจ้าหลวง" แต่ยังไม่ทันเสร็จก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน

"สมเด็จพระสรรเพชญที่ ๙ (ขุนหลวงท้ายสระ) เสด็จพระราชดำเนินทรงเบ็ดที่ปากน้ำท่าจีน เมื่อถึงคลองมหาชัย เห็นคลองนั้นขุดไม่แล้วค้างอยู่ ครั้นทรงเบ็ดแล้วกลับคืนมาถึงพระนครจึงทรงพระกรุณาตรัสสั่งให้พระราชสงครามเป็นนายกองให้กะเกณฑ์คนหัวเมืองปักษ์ใต้ ๘ หัวเมือง …….ไปขุดคลองมหาชัย จึงให้ฝรั่งส่องกล้องดูให้ตรงปากคลอง ปักกรุยลงเป็นสำคัญทางไกล ๓๔๐ เส้น ได้ขุดคลองลึก ๖ ศอก กว้าง ๗ ศอก ขุด ๒ เดือนจึงแล้วเสร็จ ….คลองนั้นได้ชื่อว่า "คลองมหาชัย" ตราบเท่าทุกวันนี้" ต่อมาตัวเมืองเจริญเติบโตขึ้น ณ ริมฝั่งซ้ายของคลองมหาชัย ชื่อมหาชัยจึงกลายเป็นชื่อที่คนทั่วไปเรียกอีกชื่อหนึ่ง

การจัดตั้งการสุขาภิบาลท่าฉลอม

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงดำเนินการปฏิรูประเบียบวิธีบริหารราชการแผ่นดิน พระองค์ได้ทรงมีพระราชประสงค์อันแรงกล้าที่จะจัดให้มีข้อบัญญัติเกี่ยวกับพระบรมราชานุภาพของพระมหากษัตริย์ของประเทศเช่นที่อารยประเทศได้ถือปฏิบัติและทรงมีพระราชดำริที่จะให้ประชาชนพลเมืองได้เข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองประเทศเพื่อช่วยกันทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญลุล่วงตามทัศนคติใหม่ของระบอบการปกครองในประเทศตะวันตก ในระยะแรกพระองค์ได้ทรงโปรดเกล้าฯ อนุญาตให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการเปลี่ยนแปลง ให้ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน และกำนันเป็นผู้ได้รับเลือกมาจากประชาชนในท้องถิ่น แทนที่ทางรัฐบาลจะเป็นผู้แต่งตั้งดังเช่นในสมัยก่อน

ครั้นเมื่อกระทรวงมหาดไทยนำพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ. ๑๑๖ ออกใช้ ใน พ.ร.บ. ฉบับนี้ก็ได้มีบทบัญญัติกล่าวถึงการนคราภิบาลไว้ด้วย ใน ร.ศ. ๑๑๘ (พ.ศ. ๒๔๔๒) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงเริ่มให้มีการจัดการบำรุงท้องถิ่นแบบสุขาภิบาลขึ้นในกรุงเทพฯ สิ่งเหล่านี้นับว่ามีอิทธิพลสืบเนื่องจากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีโอกาสไปดูกิจการต่างๆ ในทวีปยุโรป อย่างไรก็ตามความเจริญของประเทศและลักษณะปกครองของไทยยังผิดกันกับประเทศต่างๆ เหล่านั้น ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ ที่ว่า "…ประเทศอื่น ๆ ราษฎรเป็นผู้ขอให้ทำ เจ้าแผ่นดินจำใจทำในเมืองเรานี้เป็นแต่พระเจ้าแผ่นดินคิดเห็นว่าควรจะทำ เพราะจะเป็นการเจริญแก่บ้านเมืองและความเป็นสุขแก่ราษฎรทั่วไป จึงได้คิดทำ เป็นการผิดกันตรงกันข้าม…."

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในราชการและเป็น

ผู้รักษาการตามกฎหมายสำหรับหัวเมืองในส่วนภูมิภาค ก็ได้ทรงดำริที่จะดำเนินการตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเรื่อยมา การสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ได้เริ่มงานมาหลายปีแต่การจัดตั้งการสุขาภิบาลหัวเมืองยังไม่สามารถจะทำได้ เพราะเสด็จในกรมทรงเห็นว่าประชาชนยังไม่พร้อมที่จะรับ พระองค์ทรงต้องการที่จะให้ประชาชนมีความเข้าใจและเห็นคุณประโยชน์ของการสุขาภิบาลนี้เสียก่อน การรอจังหวะที่ดีกินเวลาอีกหลายปี จนกระทั่งถึง ร.ศ. ๑๒๔ (พ.ศ. ๒๔๔๘) สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพจึงทรงเริ่มงานจัดตั้งสุขาภิบาลหัวเมืองขึ้นเป็นครั้งแรก โดยทรงเลือกเอาวิธีการสุขาภิบาลมาแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการปรับปรุงท้องถิ่นในตำบลท่าฉลอม ซึ่งขณะนั้นอยู่ในสภาพเสื่อมโทรมเป็นที่สกปรกรกรุงรังจนไม่เป็นที่สบพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพจึงได้มีหนังสือตราพระราชสีห์น้อย ที่ ๒๐/๓๙๙๐ ลงวันที่ ๒ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๔ ถึงพระยาพิไชยสุนทร ผู้ว่าราชการเมืองสมุทรสาคร มีความตอนหนึ่งว่า "ด้วยเมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกที่ประชุมเสนาบดี มีรับสั่งเล่าถึงที่ได้ไปประพาสเมืองนครเขื่อนขันธ์เมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ไม่เป็นที่พอพระราชหฤทัยที่ได้ทอดพระเนตรเห็นถนน และตลาดเมืองนครเขื่อนขันธ์โสโครกมาก รับสั่งว่าสกปรกเหมือนตลาดท่าจีน ฉันนั่งอยู่ที่ประชุมรู้สึกละอายใจมาก ที่เมืองนครเขื่อนขันธ์จะสกปรกหรือสะอาดก็ไม่ใช่ธุระของเรา แต่ความสกปรกของตลาดท่าจีนซึ่งสกปรกจริงสำหรับเป็นที่ยกตัวอย่างเปรียบเทียบที่อื่นที่ไม่พอพระราชหฤทัยเช่นนี้ ก็เสมอกริ้วตลาดท่าจีนด้วยเหมือนกัน การเป็นเช่นนี้จึงรู้สึกร้อนใจมาก เห็นว่า ถ้าไม่คิดอ่านปัดกวาดจัดถนนในตลาดท่าจีนให้หายโสโครกแล้วจะเสียชื่อตั้งแต่ฉันตลอดจนผู้ว่าราชการเมืองและกำนันผู้ใหญ่บ้านในตลาดท่าจีน ซึ่งเป็นคนดี ๆที่ฉันรู้จักอยู่แทบทุกคน ถ้าตลาดท่าจีนยังสกปรกอยู่อย่างนี้ แม้ปีนี้เสด็จอีกก็เห็นจะไม่เสด็จตลาดและจะให้กำนันผู้ใหญ่บ้านในที่นั้นเฝ้าก็เห็นไม่ได้ ฉันมีความร้อนใจอย่างนี้ จึงได้มีตราฉบับนี้มายังพระยาพิไชยสุนทร เมื่อได้รับตราฉบับนี้แล้วขอให้เรียกกำนันผู้ใหญ่บ้านที่ตลาดท่าจีนมาประชุมอ่านตราฉบับนี้ให้ฟังและปรึกษากันดูว่าจะควรทำอย่างไร อย่าให้พระเจ้าอยู่หัวทรงติเตียนได้"

เมื่อได้รับหนังสือตราพระราชสีห์น้อยฉบับนี้ ปรากฎว่าพระยาพิไชยสุนทรได้เรียกประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้านตำบลท่าฉลอมทั้งหมด เพื่อให้ทราบข้อบกพร่องและช่วยกันคิดอ่านแก้ไขในการที่ถูกติเตียนเช่นนี้ ในที่สุดผู้ว่าราชการเมืองสมุทรสาครทั้งกำนันผู้ใหญ่บ้านได้ชักชวนให้ประชาชนและพ่อค้าในตำบลท่าฉลอมร่วมมือช่วยกันสละเงินได้แก่การเรี่ยไร เพื่อนำมาปรับปรุงตลาดท่าจีนให้สะอาด ได้เงินเป็นจำนวนทั้งสิ้น ๕,๔๗๒ บาท โดยได้นำเงินจำนวนที่ได้มาทำเป็นถนนปูอิฐขนาดกว้าง ๒ วา ได้ยาวถึง ๑๑ เส้น ๑๔ วา อีกทั้งจ้างคนปัดกวาดเทขยะมูลฝอยทิ้งจนตลาดท่าจีนสะอาดสมความปรารถนา

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงมีความยินดีเป็นอันมาก พระองค์ทรงรายงานทูลเกล้าถวายต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ให้ทรงทราบถึงความร่วมมือร่วมใจของประชาชนชาวท้องถิ่นในตลาดท่าฉลอมในการสละเงินทองปรับปรุงบ้านเมืองให้เจริญขึ้นและในขณะเดียวกันเสด็จในกรมก็ได้ทรงเห็นเป็นโอกาสอันงามที่จะเริ่มงานสุขาภิบาลหัวเมืองขึ้นที่ตำบลท่าฉลอมเป็นแห่งแรกเสียเลย เพราะสิ่งที่ดำเนินการไปนั้น ยังต้องมีการบำรุงและเสริมสร้างกันต่อไปอีก จึงทรงเสนอต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมกันนั้นก็ขอพระบรมราชานุญาตแก้ไข "ภาษีโรงร้าน" เพื่อจัดสมทบเป็นรายได้แก่สุขาภิบาลที่ตั้งขึ้น หน้าที่โดยย่อ ๓ ประการของสุขาภิบาลที่เสด็จในกรมทรงเสนอไว้แต่แรก คือ

(๑) ซ่อมแซมรักษาถนนหนทาง

(๒) จุดโคมไฟให้มีแสงสว่างในเวลาค่ำคืนเป็นระยะตลอดถนนในตำบลนั้น และ

(๓) ให้จ้างลูกจ้างสำหรับกวาดขนขยะมูลฝอยของโสโครกต่าง ๆ ในตำบลนั้นไปทิ้งเสียที่อื่น

กระทรวงมหาดไทยได้ส่งพระยาจ่าแสนยบดี เจ้ากรมมหาดไทยฝ่ายพลำภังไปประชุมปรึกษาหารือกับผู้ว่าราชการเมืองสมุทรสาคร กำนันผู้ใหญ่บ้าน พ่อค้าและราษฎรในบ้านตลาดท่าฉลอมในการจัดตั้งสุขาภิบาลท่าฉลอมและปรึกษาขอความคิดเห็นในการปรับปรุงภาษีโรงร้าน และการใช้จ่ายเงินเพื่อการสุขาภิบาล ปรากฏว่าได้รับความร่วมมือจากประชาชนในท้องที่ในครั้งนั้นเป็นอย่างดี

เพื่อเป็นสัญญลักษณ์ของพระราชประสงค์แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ ๕ ในด้านการสุขาภิบาล พระองค์จึงเสด็จไปทอดพระเนตรและไปเป็นเกียรติอันปวงชนควรจะได้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในการเปิดถนนที่ราษฎรตำบลท่าฉลอมออกเงินสร้างสำเร็จซึ่งมีชื่อว่า "ถนนถวาย" เมื่อวันที่ ๑๘ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๔ นับว่าเป็นการเริ่มงานสุขาภิบาลหัวเมืองขึ้นเป็นแห่งแรกด้วย

คณะกรรมการสุขาภิบาลท่าฉลอมชุดแรกที่ได้ตั้งขึ้นประกอบด้วยสมาชิกดังนี้ คือ

(๑) หลวงพัฒนการภักดี กำนันตำบลท่าฉลอม

(๒) ขุนพิจารณ์นรกิจ (๓) ขุนพินิจนรภาร

(๔) จีนพัก (๕) จีนศุข

(๖) จีนเน่า (๗) จีนอู๊ด

(๘) จีนโป๊ ผู้ใหญ่บ้าน

การบริหารงานสุขาภิบาลท่าฉลอมในระยะต่อมาเป็นไปอย่างเรียบร้อยดี เพราะปรากฎว่าการเก็บภาษีโรงร้านในตลาดท่าฉลอมได้เก็บตลอดทุกบ้านเรือนทั้งที่ทำการค้าขายหรือมิได้ค้าขาย และไม่ว่าในบังคับใดๆ ย่อมเสียให้โดยไม่เกี่ยงงอน การจ่ายเงินของคณะกรรมการสุขาภิบาลก็จ่ายโดยเขม็ดแขม่ ด้วยความรู้สึกเสียดายเงินและมีบัญชีโฆษณาให้คนทั้งหลายทราบเสมอทุกเดือนว่าเก็บเงินได้เท่าใดจ่ายใช้ไปเท่าใด คงเหลือเป็นเงินเท่าใด เป็นต้น สมพระเจตจำนงอันรอบคอบของสมเด็จเสนาบดีทุกประการ

เสด็จในกรมทรงอธิบายถึงการจัดตั้งการสุขาภิบาลท่าฉลอมเป็นตัวอย่างแก่ที่ประชุมว่าเป็นวิธีที่จัดให้กำนันผู้ใหญ่บ้านตำบลนั้นเป็นผู้ใช้จ่ายเงินเอง ผู้ว่าราชการเมืองมีหน้าที่แต่เพียงแนะนำตรวจตราให้การเป็นไปตามพระราชประสงค์เท่านั้น พระองค์ได้ทรงแนะนำให้ข้าหลวงเทศาภิบาลไปจัดหาสถานที่เพื่อจัดตั้งการสุขาภิบาลขึ้นเป็นการทดลองในท้องที่ ๆ มีความจำเป็นและสมควรที่จะจัดก่อน แต่การจัดตั้งการสุขาภิบาลนี้เสด็จในกรมทรงดำริให้ "เกิดจากความนิยมของราษฎรก่อน คือให้ราษฎรนำน่า และรัฐบาลตามหลัง" ทั้งนี้ เพื่อให้การสำเร็จไปด้วยความชมชอบของประชากร

clip_image001

ที่มา : ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดสมุทรสาคร.กรุงเทพฯ : อมรินทร์การพิมพ์,

๒๕๒๖.

สมุทรปราการ

ประวัติศาสตร์จังหวัดสมุทรปราการ

สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา

ในสมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา เมืองสมุทรปราการ ยังไม่ปรากฏในประวัติศาสตร์จะมีแต่เมืองพระประแดง ซึ่งเป็นเมืองหนึ่งที่ขอมสร้างขึ้น เป็นเมืองหน้าด่านทางทิศใต้ของขอมซึ่งตั้งอยู่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาและเป็นที่คาดคะเนว่าเมืองพระประแดงก็ยังคงเป็นเมืองหน้าด่านทางทิศใต้มาจนตลอดสมัยสุโขทัย

สมัยกรุงศรีอยุธยา

เมื่ออำนาจของกรุงสุโขทัยอ่อนลง พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ได้

ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานี และได้เลือกเอาระบบการปกครองของขอมและสุโขทัยมาปรับปรุงเสียใหม่ และประกาศใช้เป็นระบบการปกครองของราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ซึ่งวิธีการจัดระบบการปกครองหัวเมืองแบ่งเป็น ๓ ชั้น คือ

- หัวเมืองชั้นใน มีเมืองป้อมปราการ เป็นด่านชั้นในกับหัวเมืองชั้นในที่อยู่รอบๆ เมืองป้อมปราการเหล่านั้น

- เมืองพระยามหานคร คือ หัวเมืองไกลๆ ที่มอบอำนาจให้เจ้าเมืองปกครองชาวเมืองอย่างเจ้าชีวิต แต่ต้องส่งส่วยให้แก่เมืองหลวง

- เมืองประเทศราช อันได้แก่ เมืองขึ้นต่างๆ

ในสมัยนี้เมืองป้อมปราการด่านชั้นในมี ๔ หัวเมือง คือ

ทิศเหนือ เมืองลพบุรี

ทิศใต้ เมืองพระประแดง

ทิศตะวันออก นครนายก

ทิศตะวันตก สุพรรณบุรี

ต่อมาแผ่นดินที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาได้งอกลงมา ในท้องทะเลทางทิศใต้ ราวๆ ใต้คลองบางปลากดทางฝั่งขวา และแถบตำบลบางด้วน บางนางเกรง ทางฝั่งซ้าย ในปัจจุบันนี้ ฉะนั้นเมืองพระ-ประแดงจึงมิใช่เมืองที่ตั้งอยู่ปากแม่น้ำเช่นเดิม ด้วยแผ่นดินงอกใหม่เกิดขึ้นออกมามากในแผ่นดินพระเจ้าทรงธรรมพระองค์ทรงโปรดให้สร้างเมืองสมุทรปราการขึ้นให้เป็นหัวเมืองหน้าด่านทางใต้ ณ บริเวณฝั่งใต้ของคลองบางปลากด ฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนเมืองพระประแดงก็หมดความสำคัญลง และถูกยุบในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

เมืองสมุทรปราการนี้มีชื่อปรากฏในพระราชกฤษฎีกา ซึ่งตราขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๑๗๘ เวลานั้นตัวเมืองจะตั้งอยู่ที่ไหนยังไม่พบหลักฐาน แต่ได้ความตามจดหมายเหตุฝรั่งว่า ที่ปากคลองบางปลากดฝั่งขวาแม่น้ำเจ้าพระยา มีพ่อค้าชาวฮอลันดามาตั้งห้างพักสินค้าที่นั่น เรียกว่า "นิวอัมสเตอร์ดัม" และที่ตรงนี้คราวพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแต่งสมณฑูตไปลังกา กล่าวว่าออกเรือจากเมืองธนบุรีไปถึงตึกฮอลันดา ณ บางปลากด แสดงว่า ตำบลบางปลากดมีคนอยู่มาก อาจเป็นตัวเมืองสมุทรปราการครั้งนั้นก็ได้ และมีเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเมืองสมุทรปราการ ดังนี้ (๑)

ในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช พ.ศ. ๒๑๒๑ พระยาจีนจันตุ ขุนนางเขมรยกทัพไปตีเมืองเพชรบุรีไม่ได้เกิดเกรงความคิด จึงหนีมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารแต่ต่อมา เมื่อพระยาจีนจันตุทราบว่า พระยาละแวกไม่เอาโทษ จึงหนีกลับโดยลอบพาครอบครัวลงสำเภาที่ล่องลงไปขณะนั้นสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เสด็จมาแต่เมืองพิษณุโลก ประทับอยู่ ณ วังใหม่ พระองค์จึงทรงประทับเรือพระ ที่นั่งออกติดตามสำเภาพระยาจีนจันตุไปในคืนวันเดียวกันนั้น ทันกันที่ปากน้ำรับสั่งให้เรือตามเสด็จเข้าล้อมสำเภาไว้ เกิดรบพุ่งกัน พระยาจีนจันตุได้ยิงปืนลงมาต้องพระแสงปืนต้นที่ทรงนั้นแตกออกพระยาจีนจันตุถือโอกาสนั้นโล้สำเภาหลบหนีไปได้ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจะเสด็จไล่ตามก็ไม่ทันจึงยกทัพเรือกลับ

ใน พ.ศ. ๒๑๖๓ แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม มีเรือกำปั่นโปรตุเกส เข้ามาด้วยพบเรือฮอลันดา ที่บริเวณปากน้ำ ก็จับเรือฮอลันดาเอาไว้ สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงทราบโปรดให้ทหารลงไปบังคับโปรตุเกสให้คืนเรือแก่ฮอลันดา เหตุนี้จึงทำให้โปรตุเกสเคืยงไทย เลิกห้างค้าขายในกรุงศรีอยุธยาแล้วให้กองทัพเรือมาปิดอ่าวเมืองมะริด

ใน พ.ศ. ๒๑๗๓ พวกญี่ปุ่นที่เข้ามาในกรุงศรีอยุธยา เกิดขัดใจขึ้นกับไทย ถึงกับต่อญี่ปุ่นจึงลงเรือสำเภาหนีไป กองทัพเรือไทยตามทันที่ปากน้ำ ได้เกิดการต่อสู้กันที่บริเวณปากน้ำปรากฏว่าญี่ปุ่นพากันหนีไปได้

ใน พ.ศ. ๒๒๐๗ พวกฮอลันดา ที่มาค้าขายอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา เคืยงว่าทางราชการไทยทำการค้าขายผูกขาด แต่ผู้เดียวเป็นส่วนใหญ่ ทำให้เสียประโยชน์ของพวกฮอลันดาจึงเลิกการค้าขายกับไทยและกลับไปเสียจากกรุงศรีอยุธยาแล้วเอาเรือรบมาปิดปากน้ำ

พ.ศ. ๒๒๓๑ ในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา ไทยต่อสู้กับทหารฝรั่งเศสที่เข้ามารักษาป้อมวิชัยประสิทธิ์ครั้งรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในการต่อสู่กันนี้ไทยตั้งค่ายรายปืนที่บริเวณปากน้ำ และจับเรือฝรั่งเศสคุมมาได้ ๒ ลำ ครั้นเมื่อตกลงกันว่าต่างจะปล่อยกลับไปบ้านเมืองของตนเอง แต่ให้มีตัวประกันไปด้วย จนถึงปากน้ำจึงจะแลกเปลี่ยนตัวประกันกับฝ่ายไทย แต่พวกตัวประกันที่ไทยยึดไว้ได้หนีลงเรือฝรั่งเศสไปโดยไม่คืนตัวประกันฝ่ายไทยให้ตามที่ตกลงกัน ไทยจึงต้องจับพวกบาทหลวงที่เหลืออยู่ในกรุงศรีอยุธยาขังต่อไป

สมัยกรุงธนบุรี

เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าใน พ.ศ. ๒๓๑๐ เมืองสมุทรปราการได้ถูกกองทัพพม่ากวาดต้อนผู้คนปล้นสดมภ์ยับเยิน วัดและบ้านเมืองกลายเป็นเมืองร้างอยู่พักหนึ่ง ต่อมาเมื่อสมเด็จพระเจ้า-ตากสินมหาราชทรงกู้บ้านเมืองเอาไว้ได้ และสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีเมื่อบ้านเมืองสงบเรียบร้อย ผู้คนในเมืองสมุทรปราการที่อพยพหนีภัยสงคราม จึงได้กลับมาตั้งถิ่นฐานเดิม

ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินนี้ พระองค์ทรงรื้อกำแพงเมืองพระประแดงเดิมที่ตั้งอยู่เขตราษฎร์บูรณะในปัจจุบัน ไปก่อกำแพงพระราชวังธนบุรีและที่อื่นๆ อย่างรีบเร่ง เนื่องจากไม่มีเวลาเผาอิฐอีกทั้งกำแพงดังกล่าวก็อยู่ใกล้ สะดวกแก่การลำเลียง ดังนั้น เมืองพระประแดงเดิมจึงสิ้นซากนับแต่นั้นมา

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ในสมัยรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะสร้าง เมืองพระประแดงขึ้นเป็นเมืองหน้าด่าน สำหรับป้องกันศัตรูซึ่งมาทางทะเลแต่พระองค์ทรงสร้างเพียงป้อมขึ้นไว้ทางฝั่งตะวันออก ๑ ป้อม เรียกว่า ป้อมวิทยาคม

ใน พ.ศ. ๒๓๕๗ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ เป็นแม่กองสร้างปราการเมืองพระประแดงขึ้น ต่อจากที่รัชกาลที่ ๑ ทรงสร้างไว้ทางฝั่งตะวันออกและสร้างป้อมเพิ่มเติมทางฝั่งตะวันตก (ฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา) ๕ ป้อม คือ

๑. ป้อมแผลงไฟฟ้า

๒. ป้อมมหาสังหาร

๓. ป้อมศัตรูพินาศ

๔. ป้อมจักร์กรด

๕. ป้อมพระจันทร์ พระอาทิตย์

ป้อมทางฝั่งตะวันออก (ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา)

มี ๔ ป้อม คือ

๑. ป้อมปู่เจ้าสมิงพราย

๒. ป้อมปีศาจสิง

๓. ป้อมราหูจร

๔. ป้อมวิทยาคม

ป้อมเหล่านี้ชักปีกกาถึงกัน ทางหลังเมืองกำแพงล้อมรอบ มียุ้งฉาง ตึกดินและศาลาไว้เครื่องอาวุธยุทธภัณฑ์

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงขนานนามเมืองพระประแดงนี้ว่าเมืองนครเขื่อนขันธ์ การสร้างเมืองเสร็จเรียบร้อยเมื่อวันศุกร์ เดือน ๗ แรม ๑๑ ค่ำ พ.ศ. ๒๓๕๘ แล้วทรงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายครัวมอญ เมืองปทุมธานี พวกเจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง) ซึ่งหนีภัยพม่าเข้ามาพึ่งพระ-บรมโพธิสมภาร ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นชายฉกรรจ์ ๓๐๐ คน ให้มาตั้งภูมิลำเนาอยู่ ณ เมืองนี้ และทรงแต่งตั้งสมิงทอมา บุตรเจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง) ซึ่งเป็นพระยาราม น้องเจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรีย) เป็นพระยานครเขื่อนขันธ์รามัญราชชาติเสนาบดีศรีสิทธิสงคราม เป็นผู้รักษาเมือง

เมื่อสมัยรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช องเชียงสือเจ้า

ราชวงศ์ของญวนหนีภัยการเมืองเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร เมื่อองเชียงสือได้กลับไปเป็นใหญ่ในญวนสัมพันธภาพระหว่างไทยกับญวนจึงเป็นไปอย่างแน่นแฟ้นดุจพี่น้อง ต่อมาในรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สัมพันธไมตรีที่มีอยู่ด้วยกันเสื่อมคลายลง เกิดกินแหนงแคลงใจกันสาเหตุจากญวนคิดเป็นเจ้าใหญ่นายโตปกครองประเทศเขมร

องต๋ากุน เจ้าเมืองญวน ได้เกณฑ์ไพร่พลญวน - เขมร ผลัดละ ๑๐,๐๐๐ คน ขุดคลองใหญ่จากทะเลสาบเขมร มาออกเมืองบันทายมาศ ใกล้ชายแดนไทยอันจะเป็นเหตุให้ไทยเราได้รับความกระทบกระเทือน เพราะถ้าญวนขุดคลองนี้สำเร็จญวนอาจยกกองทัพเรือมารุกรานไทยเข้าตีหัวเมืองไทยได้ง่ายเข้า เนื่องจากไม่ต้องอ้อมแหลมใหญ่ผ่านทะเล และเมืองบันทายมาศอยู่ใกล้ชายแดนไทยอีกทั้งยังเคยเป็นของไทยมาเก่าก่อน แต่เนื่องจากญวนได้แต่งทูตเข้ามาบังคมพระบรมศพรัชกาลที่ ๑ เลยถือโอกาสถวายสาส์นรัชกาลที่ ๒ ขอเมืองบันทายมาศ โดยที่ไทยเห็นแก่ไมตรีที่มีมาดั้งเดิม พระองค์มิได้เฉลียวพระทัยว่าญวนจะคิดหักหลัง จึงยอมยกเมืองบันทายมาศให้ญวนไป

ฉะนั้น พระองค์จึงแน่พระทัยว่าการขุดคลองของญวนในครั้งนี้นั้น เป็นแผนการของญวนที่คิดจะรุกรานไทย พระองค์จึงทรงพระราชดำริว่า เมืองสมุทรปราการเดิมที่สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงสร้างไว้ทรุดโทรมลงมากแล้ว ประกอบทั้งอยู่ห่างไกลจากปากแม่น้ำเจ้าพระยา และทรงเห็นความจำเป็นที่จะต้องป้องกันพระนครทางน้ำให้แข็งแกร่งกว่าที่เป็นอยู่ เห็นควรให้สถาปนาเมืองสมุทรปราการขึ้นใหม่ และเลื่อนออกไปให้ใกล้ปากแม่น้ำ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่น-เจษฎาบดินทร์ (พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓) เป็นแม่กองร่วมด้วย เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) จัดการสร้างเมืองสมุทรปราการขึ้นใหม่ ใน พ.ศ. ๒๓๖๒ เป็นการด่วน โดยทรงกำหนดเขตให้ตรงบริเวณพื้นที่ที่ชาวบ้าน เรียกว่า "บางเจ้าพระยา" (เป็นเทศบาลเมืองสมุทรปราการ กับตำบลบางเมืองในปัจจุบัน) อยู่ระหว่างปากคลองปากน้ำคลองมหาวงศ์ มีป้อมปราการเป็นเมืองหน้าศึก ๖ ป้อมปราการ คือ (๒)

- ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา (ตะวันออก)

๑. ป้อมประโคนชัย อยู่ที่ปากคลองปากน้ำ

๒. ป้อมนารายณ์ปราบศึก อยู่ในตำบลบางเมือง

๓. ป้อมปราการ อยู่ในตำบลบางเมือง

๔. ป้อมกายสิทธิ์ ในตำบลบางเมือง

- ทางฝั่งขวาของแม่เจ้าพระยา (ตะวันตก) มีป้อมนาคราช

- ส่วนกลางแม่น้ำมีเกาะใหม่เกิดขึ้น จึงสร้างป้อมขึ้นบนเกาะนั้น เรียกว่า "ป้อมผีเสื้อสมุทร" และในครั้งนั้นโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองปากลัด ในเมืองนครเขื่อนขันธ์ขึ้นมาด้วย

ในการสร้างเมืองสมุทรปราการใหม่นี้ ได้สร้างเสร็จเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๔ พ.ศ. ๒๓๖๕ ครั้นในวันพุธ เวลา ๐๔.๒๔ น. ได้ฤกษ์เอาแผ่นยันต์ทอง เงิน ทองแดง ดีบุก และศิลา ลงสู่ภูมิบาทแล้วยกเสาหลักเมือง พอวันเสาร์ ๐๕.๒๔ น. ทำพิธีฝังอาถรรพ์แผนยันต์องครักษ์อีกครั้งหนึ่ง เสาหลักเมืองที่ทำพิธียกขึ้นครั้งนั้น เป็นที่ตั้งของ "ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง" ในปัจจุบัน

ใน ปี พ.ศ. ๒๓๖๕ ก่อนหน้าที่จะทำพิธีฝังหลักเมืองไม่นาน อุปราชเมืองนครพนมได้พาสมัครพรรคพวกและบริวารเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารประมาณ ๒,๐๐๐ คน รัชกาลที่ ๒ โปรดให้ตั้งภูมิลำเนาอยู่แถบคลองมหาวงษ์ในเมืองสมุทรปราการ กับให้ท้าวอินทพิศาล บุตรชายคนโตของอุปราชเมืองนครพนมเป็นพระยาปลัดเมืองสมุทรปราการ

ในระหว่างที่สร้างเมืองสมุทรปราการใหม่อยู่นี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้เสด็จทอดพระเนตรงานก่อสร้างอยู่เสมอ ครั้นวันพฤหัสบดี เดือน ๑๒ ขึ้น ๑๑ ค่ำ พ.ศ. ๒๓๖๖ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จพระราชทานผ้าพระกฐิน ณ วัดพิชัยสงคราม (วัดนอก) เมืองสมุทรปราการทรงทอดพระเนตรเห็นเกาะหาดทรายข้างป้อมผีเสื้อสมุทร จึงทรงพระราชดำริจะสร้างมหาเจดีย์เพื่อคู่กับชาวเมืองสมุทรปราการที่พระองค์ทรงสถาปนาขึ้นไว้ ดังนั้นจึงโปรดให้สร้าง" พระสมุทรเจดีย์" ขึ้นบนเกาะกลางน้ำตรงท้ายป้อมผีเสี้อสมุทรแต่การสร้างได้เริ่มในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ และเสร็จสิ้นในรัชสมัยของพระองค์

(๓) ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปราบกบฏเวียงจันทน์เสร็จแล้วจะทำสงครามกับญวน พระองค์จึงโปรดให้สร้างป้อมเพิ่มเติมที่เมืองสมุทรปราการ เมื่อปีชวด พ.ศ. ๒๓๗๑ โปรดให้เจ้าพระยาพระคลังเป็นแม่กองสร้างป้อมฝั่งตะวันตก (ฝั่งขวา) ของแม่น้ำเจ้าพระยา ชื่อป้อม ปีกกาต่อจากป้อมประโคมชัยของเดิม, ป้อมตรีเพ็ชร์ สร้างที่บางจะเกรง (บางนาเกรงในปัจจุบัน) เหนือเมืองขึ้นไป

ต่อมา ปีมะเมีย พ.ศ. ๒๓๗๗ โปรดให้กรมสมเด็จพระเคชาดิศร ครั้งดำรงพระยศเป็นกรมขุนเดชาอดิสรกับกรมหมื่นเสพสุนทร กรมหมื่นณรงค์หริรักษ์ สร้างป้อมที่บางปลากด ทางฝั่งตะวันตกข้างเหนือเมืองสมุทรปราการ ชื่อป้อมคงกระพัน ในปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๘๘ โปรดให้เจ้าพระยาพระคลัง ไปสร้างป้อมเพิ่มเติมที่เมืองสมุทรปราการ คือ ทำป้อมปีกกาต่อป้อมนาคราช เรียกว่า ป้อมปีกกาพับสมุทร ส่วนป้อมผีเสื้อสมุทร เดิมทำเป็น ๒ ชั้น ให้รื้อชั้นบนออกเสียชั้นหนึ่งแล้วสร้างปีกกาขยายป้อมออกไปทั้ง ๒ ข้าง และให้ถมศิลาปิดปากอ่าวที่แหลมฟ้าผ่า ๕ กอง ไว้ทางเรือเดินเป็นช่องๆ เรียกว่า

"โขลนทวาร" ถึงปีวอก พ.ศ. ๒๓๙๑ โปรดให้สมเด็จพระยามหาศรีสุริยวงศ์ เมื่อครั้งเป็นจมื่นไวยวรนารถ เป็นแม่กองสร้างป้อมใหญ่ขึ้นที่ตำบลมหาวงษ์ ทางฝั่งตะวันออกอีกหนึ่งป้อม เป็นป้อมที่ตั้งของแม่ทัพ ชื่อป้อมเสือซ่อนเล็บ

ในปี พ.ศ. ๒๔๓๖ รัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นความจำเป็นต้องมีป้อมที่ปากอ่าวบริเวณแผ่นดินที่ยื่นออกไปจนถึงตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอเมืองสมุทรปราการ จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างป้อมพระจุลจอมเกล้า ซึ่งมีป้อมปืนสามารถต้านทานกระสุนปืนเรือทันสมัยได้ ประกอบกับเวลานั้นไทยกำลังมีเรื่องพิพาทกับฝรั่งเศล กรณีพิพาทดินแดนทางแม่น้ำโขง ป้อมพระจุลจอมเกล้าฯ ได้สิ้นพระราชทรัพย์ในการสร้างไปทั้งสิ้น ๑๐,๐๐๐ ชั่ง

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศไทยมีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล แต่ก็รักษาไว้ไม่ได้นาน เพราะมีประเทศมหาอำนาจตะวันตกมาแสวงหาเมืองขึ้น ทางภาคตะวันออกของทวีปเอเชียประเทศเล็กประเทศน้อยก็ต้องสูญเสียดินแดนแก่มหาอำนาจที่ว่านี้ อย่างไม่มีทางจะเอาดินแดนคืนได้โดยเฉพาะประเทศไทยได้เสียดินแดนให้ประเทศมหาอำนาจตะวันตกไปทั้งหมด ๑๑ ครั้ง และในการเสียดินแดน ครั้งที่ ๗ มีเหตุการณ์ที่เกี่ยวพันกับเมืองสมุทรปราการ คือ เหตุการณ์รบที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อเย็นวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๔๓๖ เนื่องจากในวันนั้น เป็นวันกำหนดการเสด็จมาถึงของอาชดุ๊ค ฟรานซ์เฟอร์ดินานด์ ยุพราชแห่งออสเตรีย โดยจะเดินทางถึงอ่าวไทย เพื่อเยือนประเทศสยาม และในตอนเย็นวันนั้น มีฝนตกตรำๆ ตลอดจนค่ำ เรือรบฝรั่งเศษ ๒ ลำ และมีเรือสินค้าซึ่งเคยทำการค้าระหว่างกรุงเทพฯ กับไซ่ง่อนเป็นเรือนำร่องเข้ามา ถือโอกาสแล่นเข้ามาเป็นการสวมรอย ทำให้ทหารไทยไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าเป็นฝ่ายใดแน่นอน จึงเกิดความลังเลใจ เรือรบฝรั่งเศสจึงรอดจากการยิงของทหารไทยที่ป้อมปืนพระจุลจอมเกล้าเข้ามาได้ คงถูกยิงแต่เรือนำร่องและเกยตื้นอยู่ การเข้ามาของเรือรบฝรั่งเศสเป็นการขู่รัฐบาลไทยให้ปฏิบัติตามเงื่อนไข ซึ่งฝรั่งเศสให้ตอบภายใน ๔๘ ชั่วโมง นอกจากนั้นฝรั่งเศสยังส่งเรือรบอีก ๘ ลำ มาปิดอ่าวไทยเมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๔๓๖ อีกชั้นหนึ่งรัฐบาลไทยได้ยอมตกลงตามเงื่อนไขที่ฝรั่งเศสเรียกร้องเมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๔๓๖ ฝรั่งเศสจึงยอมถอนกองเรือรบที่ปิดอ่าว เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๔๓๖ แม้กระนั้นก็ยังยึดจังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราดไว้อีก ๑๕ ปี

เหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ.๒๔๓๖) นี้ นอกจากไทยจะถูกปรับเป็นเงินตราอย่างมหาศาลแล้วต้องเสียดินแดนฝั่งช้ายแม่น้ำโขง เป็นเนื้อที่ทั้งหมด ๑๔๓,๐๐๐ ตารางกิโลเมตรให้แก่ฝรั่งเศส ประเทศลาวทั้งหมด อาณาจักรลานช้าง ซึ่งเป็นของไทยมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อ พ.ศ. ๒๑๓๖ อยู่กับไทยมาครบ ๓๐๐ ปีพอดี ต้องมาเสียให้ฝรั่งเศสคราวนี้ด้วย และยึดจังหวัดจันทบุรีกับจังหวัดตราดเป็นประกันอีก ๑๕ ปี

การที่ไทยต้องเสียดินแดนให้แก่ฝรั่งเศสใน ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖ หรือ จ.ศ. ๑๒๕๕) นับว่าเป็นครั้งยิ่งใหญ่กว่าทุกครั้งในจำนวน ๑๑ ครั้ง สร้างความขมขื่นให้ไทยอย่างใหญ่หลวง(๔)

ในระหว่าง พ.ศ. ๒๔๓๕ - ๒๔๓๘ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงการปกครองพระราชอาณาเขตให้เรียบร้อยเป็นระเบียบ โปรดเกล้าฯ ให้มีการรวบรวมบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งปวงซึ่งเดิมขึ้นอยู่กับกรมพระกลาโหมกรมมหาดไทย และกรมท่า ให้มาอยู่ในบังคับบัญชา ของกระทรวงมหาดไทย เพียงกระทรวงเดียว อย่างไรก็ตาม ในการจัดระเบียบการปกครองโอนหัวเมืองต่างๆ ให้มาขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทยครั้งนี้ปรากฏว่า เมืองสมุทรปราการและเมืองนครเขื่อนขันธ์ ได้รวมเข้าอยู่ในมณฑลกรุงเทพฯ ขึ้นต่อกระทรวงนครบาลแทน ตามพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ ร.ศ. ๑๑๔ (๕)

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงดำริว่านาม "พระประแดง" เป็นเมืองสำคัญมาแต่โบราณกาล สมควรใช้แทนนครเขื่อนขันธ์ เพราะอยู่ติดกันอยู่แล้ว ดังนั้น ใน พ.ศ. ๒๔๕๘ พระองค์จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อ "นคร เขื่อนขันธ์" เป็น "เมืองพระประแดง" สืบมา

ใน พ.ศ.๒๔๕๘ รัชกาลที่ ๖ ได้มีพระบรมราชโองการขยาย เขตกรุงเทพมหานครเสียใหม่ด้วยทรงเห็นว่ากรุงเทพมหานครมีความเจริญขยายออกไปมากแล้ว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราช-บัญญัติแบ่งการบังคับบัญชาหัวเมืองใหม่ ยกเลิกมณฑลกรุงเทพฯ เดิมที่รวมท้องที่เมืองนนทบุรี เมืองมีนบุรี เมืองพระประแดงเมืองสมุทรปราการ แล้วกำหนดเขตเสียใหม่และให้ยกเมืองธัญบุรี เมืองปทุมธานี ไปสมทบเป็นหัวเมืองขึ้นกระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่วันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๘ เป็นต้นมา(๖)

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะเมืองขึ้นเป็นจังหวัด เมืองสมุทรปราการก็กลายเป็นจังหวัดสมุทรปราการ และเมืองพระประแดงก็เป็นจังหวัดพระประแดงต่างหาก จังหวัดสมุทรปราการในตอนนั้นมี ๔ อำเภอ คือเมือง, บางเหี้ย (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นบางบ่อ) , บางพลี และเกาะสีชัง (ลดฐานะลงมาเป็นกิ่งอำเภอในภายหลัง เพราะพลเมืองน้อย) และจังหวัดพระประแดง มี ๓ อำเภอ คือ เมืองราษฎร์บูรณะ และพระโขนง

ต่อมาในรัชกาลที่ ๗ อันเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ รัฐบาลจึงยุบจังหวัดพระประแดงลงมาเป็นอำเภอหนึ่งให้ขึ้นกับจังหวัดสมุทรปราการ อำเภอราษฎร์บูรณะไปขึ้นกับจังหวัด ธนบุรี และอำเภอพระโขนงไปขึ้นกับจังหวัดพระนคร

ในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ ได้ออกพระราชบัญญัติยุบจังหวัดสมุทรปราการกับจังหวัดอื่นๆ อีก ๔ จังหวัดไปรวมเป็นจังหวัดพระนคร-ธนบุรี แต่ต่อมาในวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๔๘๙ ได้มีพระราชกฤษฎีกาให้จัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

การจัดรูปการปกครองเมืองตามระบอบมณฑลเทศาภิบาล

หลังจากจัดหน่วยราชการบริหารส่วนกลาง โดยมีกระทรวงมหาดไทย ในฐานะเป็นส่วนราชการที่เป็นศูนย์กลางอำนวยการปกครองประเทศ และควบคุมหัวเมืองทั่วประเทศแล้วการจัดระเบียบการปกครองต่อมาก็มีการจัดตั้งหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาค ซึ่งมีสภาพและฐานะเป็นตัวแทนหรือหน่วยประจำท้องที่ของกระทรวงมหาดไทยขึ้น อันได้แก่ การจัดรูปการปกครองแบบเทศาภิบาล ซึ่งถือได้ว่าเป็นระบบการปกครองอันสำคัญยิ่งที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนำมาใช้ปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดินส่วนภูมิภาคในสมัยนั้น กรมปกครองแบบเทศาภิบาล เป็นระบบการปกครองส่วนภูมิภาคชนิดหนึ่งที่รัฐบาลกลางจัดส่งข้าราชการจากส่วนกลางออกไปบริหารราชการ ในท้องที่ต่างๆ ระบบการปกครองแบบเทศาภิบาล เป็นระบบการปกครองที่รวมอำนาจเข้ามาไว้ในส่วนกลางอย่างมีระเบียบเรียบร้อย และเปลี่ยนระบบการปกครองจากประเพณีปกครองดั้งเดิมของไทย คือ ระบบกินเมือง ให้หมดไป

การปกครองหัวเมืองก่อนวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๓๕ นั้น อำนาจปกครองบังคับบัญชามีความหมายแตกต่างกันออกไปตามความใกล้ไกลของท้องถิ่น หัวเมืองหรือประเทศราชยิ่งไกลไปจากกรุงเทพฯ เท่าใดก็ยิ่งมีอิสระในการปกครองตนเองมากขึ้นเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากทางคมนาคมไปมาหาสู่ลำบาก หัวเมืองที่รัฐบาลปกครองบังคับบัญชาได้โดยตรงก็มีแต่หัวเมืองจัตวาใกล้ๆ ส่วนหัวเมืองอื่นๆ มีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครองแบบกินเมืองและมีอำนาจอย่างกว้างขวาง ในสมัยที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพดำรงตำแหน่งเสนาบดี พระองค์ได้จัดให้อำนาจการปกครองเข้ามารวมอยู่ยังจุดเดียวกัน โดยการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งปวงซึ่งหมายความว่า รัฐบาลมิให้การบังคับบัญชาหัวเมืองไปอยู่ที่เจ้าเมืองระบบการปกครองแบบเทศาภิบาลเริ่มจัดตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๗ จนถึง พ.ศ. ๒๔๕๘ จึงสำเร็จและเพื่อความเข้าใจเรื่องนี้เสียก่อนในเบื้องต้น จึงจะขอนำคำจำกัดความของ"การเทศาภิบาล" ซึ่งพระยาราชเสนา (สิริ เทพหัสดิน ณ อยุธยา) อดีตปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทยตีพิมพ์ไว้ ซึ่งมีความว่า

"การเทศาภิบาล คือ การปกครองโดยลักษณะที่จัดให้มีหน่วยบริหารราชการอันประกอบด้วยตำแหน่งข้าราชการต่างพระเนตรพระกรรณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเป็นที่ไว้วางใจของรัฐบาลของพระองค์ รับแบ่งภาระของรัฐบาลกลาง ซึ่งประจำแต่เฉพาะในราชธานีนั้นออกไปดำเนินงานในส่วนภูมิภาคอันเป็นที่ใกล้ชิดติดต่ออาณาประชากร เพื่อให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุขและความเจริญทั่วถึงกันโดยมีระเบียบแบบแผนอันเป็นคุณประโยชน์แก่ราชอาณาจักรด้วย ฯลฯ จึงได้แบ่งส่วนการปกครองโดยขนาดลดหลั่นกันเป็นขั้นอันดับดังนี้ คือ ส่วนใหญ่เป็นมณฑลรองถัดลงไปเป็นเมือง คือ จังหวัดรองไปอีกเป็น อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน จัดแบ่งหน้าที่ราชการเป็นส่วนสัดแผนกงานให้สอดคล้องกับทำนองการของกระทรวง ทบวง กรมในราชธานี และจัดสรรข้าราชการที่มีความรู้สติปัญญาความประพฤติดี ให้ไปประจำทำงานตามตำแหน่งหน้าที่มิให้มีการก้าวก่ายสับสนกันดังที่เป็นมาแต่ก่อนเพื่อนำมาซึ่งความเจริญเรียบร้อย รวดเร็ว แก่ราชการและธุรกิจของประชาชนซึ่งต้องอาศัยทางราชการเป็นที่พึ่งด้วย"

จากคำจำกัดความดังกล่าวข้างต้น ควรทำความเข้าใจบางประการเกี่ยวกับการจัดระเบียบการปกครองแบบเทศาภิบาล ดังนี้

การเทศาภิบาล นั้น หมายความรวมว่า เป็น "ระบบ" การปกครองอาณาเขตชนิดหนึ่งซึ่งเรียกว่า "การปกครองส่วนภูมิภาค" ส่วน "มณฑลเทศาภิบาล" นั้น คือ ส่วนหนึ่งของการปกครองชนิดนี้ และยังหมายความอีกว่า ระบบเทศาภิบาลเป็นระบบที่รัฐบาลกลางจัดส่งข้าราชการส่วนกลางไปบริหารราชการในท้องที่ต่างๆ แทนที่ส่วนภูมิภาคจะจัดปกครองกันเองเช่นที่เคยปฏิบัติมาแต่เดิม อันเป็นระบบกินเมือง ระบบการปกครองแบบเทศาภิบาลจึงเป็นระบบการปกครองซึ่งรวมอำนาจเข้ามาไว้ในส่วนกลางและริดรอนอำนาจของเจ้าเมืองตามระบบกินเมืองลงอย่างสิ้นเชิง

นอกจากนี้ มีข้อที่ควรทำความเข้าใจอีกประการหนึ่ง คือ การจัดระเบียบการปกครองแบบเทศาภิบาลนั้น ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ก่อนปฏิรูปการปกครองก็มีการรวมหัวเมืองเข้าเป็นมณฑลเหมือนกัน แต่มณฑลสมัยนั้นหาใช่มณฑลเทศาภิบาลไม่ ดังจะอธิบายโดยย่อดังนี้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระ-จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระปิยมหาราช ทรงพระราชดำริจะจัดการปกครองพระราชอาณาเขตให้มั่นคงและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทรงเห็นว่าหัวเมืองอันมีมาแต่เดิมแยกกันขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทยบ้าง กระทรวงกลาโหมบ้างและกรมท่าบ้าง การบังคับบัญชาหัวเมืองในสมัยนั้นแยกกันอยู่ถึง ๓ แห่งยากที่จะจัดระเบียบการปกครองให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเหมือนกันได้ทั่วราชอาณาจักร ทรงพระราชดำริว่า ควรจะรวมการบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งปวงให้ขึ้นอยู่กกับในกระทรวงมหาดไทยกระทรวงเดียว จึงได้มีพระบรมราชโองการแบ่งหน้าที่ระหว่างกระทรวงมหาดไทยกับกระทรวงกลาโหมเสียใหม่ เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๔๓๕ เมื่อได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยปกครองหัวเมืองทั้งปวงแล้ว จึงได้รวบรวมหัวเมืองเข้าเป็นมณฑลมีข้าหลวงใหญ่เป็นผู้ปกครอง การจัดตั้งมณฑลในครั้งนั้นมีอยู่ทั้งสิ้น ๖ มณฑล คือ มณฑลลาวเฉียงหรือมณฑลพายัพ มณฑลลาวพวนหรือมณฑลอุดร มณฑลลาวกาวหรือมณฑลอีสาน มณฑลเขมรหรือมณฑลบูรพา และมณฑลนครราชสีมา ส่วนหัวเมืองทางฝั่งทะเลตะวันตก บัญชาการอยู่ที่เมืองภูเก็ต

การจัดรวบรวมหัวเมืองเข้าเป็น ๖ มณฑลดังกล่าวนี้ ยังมิได้มีฐานะเหมือนมณฑลเทศาภิบาลการจัดระบบการปกครองมณฑลเทศาภิบาลได้เริ่มอย่างแท้จริงเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๗ เป็นต้นมา และก็มิได้ดำเนินการจัดตั้งพร้อมกันทีเดียวทั่วราชอาณาจักร แต่ได้จัดตั้งเป็นลำดับดังนี้

พ.ศ. ๒๔๓๗ เป็นปีแรก ได้วางแผนงาน จัดระเบียบการบริหารมณฑลแบบใหม่เสร็จกระทรวงมหาดไทยได้จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น ๓ มณฑล คือ มณฑลพิษณุโลก มณฑลปราจีนบุรี มณฑลนครราชสีมา ซึ่งเปลี่ยนแปลงจากสภาพมณฑลแบบเก่ามาเป็นแบบใหม่ และในตอนปลายปี เมื่อโปรดเกล้าฯ ให้โอนหัวเมืองทั้งปวงซึ่งเคยขึ้นอยู่ในกระทรวงกลาโหมและกระทรวงต่างประเทศมาขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทยกระทรวงเดียวแล้วจึงได้รวมหัวเมืองจัดเป็นมณฑลราชบุรีขึ้นอีกมณฑลหนึ่ง

พ.ศ. ๒๔๓๘ ได้รวมหัวเมืองจัดเป็นมณฑลเทศาภิบาลขึ้นอีก ๓ มณฑล คือ มณฑลนครชัยศรีมณฑลนครสวรรค์ มณฑลกรุงเก่า และได้แก้ไขระเบียบการจัดมณฑลฝ่ายทะเลตะวันตก คือ ตั้งเป็นมณฑลภูเก็ตให้เข้ารูปลักษณะของมณฑลเทศาภิบาลอีกมณฑลหนึ่ง

พ.ศ. ๒๔๓๙ ได้รวมหัวเมืองเป็นมณฑลเทศาภิบาลขึ้นอีก ๒ มณฑล คือ มณฑลนครศรีธรรมราช และมณฑลชุมพร

พ.ศ. ๒๔๔๐ ได้รวมหัวเมืองมะลายูตะวันออกเป็นมณฑลไทรบุรี และในปีเดียวกันนั้นเอง ได้ตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ขึ้นอีกมณฑลหนึ่ง

พ.ศ. ๒๔๔๓ ได้เปลี่ยนแปลงสภาพของมณฑลเก่าๆ ที่เหลืออยู่อีก ๓ มณฑล คือ มณฑลพายัพ มณฑลอุดร และมณฑลอีสาน ให้เป็นมณฑลเทศาภิบาล

พ.ศ. ๒๔๔๗ ยุบมณฑลเพชรบูรณ์ เพราะเห็นว่ามีแต่จะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย

พ.ศ. ๒๔๔๙ จัดตั้งมณฑลปัตตานีและมณฑลจันทบุรี มีเมืองจันทบุรี ระยอง และตราด

พ.ศ. ๒๔๕๐ ตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

พ.ศ. ๒๔๕๑ จำนวนมณฑลลดลง เพราะไทยต้องยอมยกมณฑลไทรบุรีให้แก่อังกฤษเพื่อแลกเปลี่ยนกับการแก้ไขสัญญาค้าขาย และเพื่อจะกู้ยืมเงินอังกฤษมาสร้างทางรถไฟสายใต้

พ.ศ. ๒๔๕๕ ได้แยกมณฑลอีสานออกเป็น ๒ มณฑล มีชื่อใหม่ว่า มณฑลอุบลและมณฑลร้อยเอ็ด

พ.ศ. ๒๔๕๘ จัดตั้งมณฑลมหาราษฎร์ขึ้น โดยแยกออกจากมณฑลพายับ

การจัดรูปการปกครองในสมัยปัจจุบัน

การปรับปรุงระเบียบการปกครองหัวเมืองเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศมาเป็นระบอบประชาธิปไตยนั้น ปรากฏตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. ๒๔๗๖ จัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอ จังหวัดมีฐานะเป็นหน่วยบริหารราชการแผ่นดิน มีข้าหลวงประจำจังหวัดและกรมการจังหวัดเป็นผู้บริหาร เมื่อก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองนอกจากจะแบ่งเขตการปกครองออกเป็นจังหวัดและอำเภอแล้ว ยังแบ่งเขตการปกครองออกเป็นมณฑลอีกด้วย เมื่อได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. ๒๔๗๖ จึงได้ยกเลิกมณฑลเสียเหตุที่ยกเลิกมณฑลน่าจะเนื่องจาก

๑) การคมนาคมสื่อสารสะดวกและรวดเร็วขึ้นกว่าแต่ก่อน สามารถที่จะสั่งการและตรวจตราสอดส่องได้ทั่วถึง

๒) เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายของประเทศให้น้อยลง

๓) เห็นว่าหน่วยมณฑลซ้อนกับหน่วยจังหวัด จังหวัดรายงานกิจการต่อมณฑลมณฑลรายงานต่อกระทรวงเป็นการชักช้าโดยไม่จำเป็น

๔) รัฐบาลในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ๆ มีนโยบายที่จะให้อำนาจแก่ส่วนภูมิภาคยิ่งขึ้น และการที่ยุบมณฑลก็เพื่อให้จังหวัดมีอำนาจนั่นเอง

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินอีกฉบับหนึ่งในส่วนที่เกี่ยวกับจังหวัดมีหลักการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ดังนี้

๑) จังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล แต่จังหวัดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. ๒๔๗๖ หามีฐานะเป็นนิติบุคคลไม่

๒) อำนาจบริหารในจังหวัด ซึ่งแต่เดิมตกอยู่แก่คณะบุคคล ได้แก่ คณะกรมการจังหวัดนั้น ได้เปลี่ยนแปลงมาอยู่กับบุคคลคนเดียว คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด

๓) ในฐานะของคณะกรมการจังหวัด ซึ่งแต่เดิมเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดได้กลายเป็นคณะเจ้าหน้าที่ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด

ต่อมา ได้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตามนัยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๑๘ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๑๕ โดยจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็น

๑. จังหวัด

๒. อำเภอ

จังหวัดนั้นให้รวมท้องที่หลายๆ อำเภอขึ้นเป็นจังหวัด มีฐานะเป็นนิติบุคคล การตั้ง ยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ และให้มีคณะกรมการจังหวัดเป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราช-การจังหวัดในการบริหารราชแผ่นดินในจังหวัดนั้น

ที่มา : ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดสมุทรปราการ. สมุทรปราการ : วีระการพิมพ์, ๒๕๒๖.


(๑) "สารานุกรมภูมิศาสตร์ แห่งประเทศไทย" เล่ม ๔ จบบริบูรณ์ รวบรวมโดยสงวน อั้นคง. โรงพิมพ์เฟื่องอักษร, พ.ศ. ๒๕๑๔ หน้า ๑๖๓๕ - ๑๖๓๙.

(๒) "ตำนานวัตถุสถานต่างๆ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนา" พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายจำเนียร นครประศาสน์,ผดุงวิทยาการพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๑๔,หน้า ๕๔.

(๓) "ตำนานวัตถุสถานต่างๆ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนา" หน้า ๕๔-๕๖.

(๔) ประเทศสยามเสียดินแดนให้แก่มหาอำนาจตะวันตก ๑๑ ครั้ง ดังนี้

๑. เสียเกาะหมาก ให้อังกฤษ เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๓๒๙ เนื้อที่ ๓๗๕ ตารางกิโลเมตร

๒. เสียมะริด ทะวาย ตะนาวศรี ให้อังกฤษ เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๓๓๖ เนื้อที่ ๕๕,๐๐๐ ตร.กม.

๓. เสียแสนหวี เชียงตุง เมืองพง ให้อังกฤษ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๘ เนื้อที่ ๑๒๐,๐๐๐ ตร.กม.

๔. เสียสิบสองพันนา ให้อังกฤษ เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๓๙๗ เนื้อที่ ๖๐,๐๐๐ ตร.กม.

๕. เสียแคว้นเขมร ให้ฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๔๑๐ เนื้อที่ ๑๒๔,๐๐๐ ตร.กม.

๖. เสียสิบสองจุไทย ให้ฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๔๓๑ เนื้อที่ ๘๗,๐๐๐ ตร.กม.

๗. เสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ให้ฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๔๓๖ เนื้อที่ ๑๔๓,๐๐๐ ตร.กม.

๘. เสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง ให้ฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๖ เนื้อที่ ๖๒,๕๐๐ ตร.กม.

๙. เสียมณฑลบูรพา ให้ฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๔๔๙ เนื้อที่ ๕๑,๐๐๐ ตร.กม.

๑๐. เสียกะลันตัน,ตรังตานู,ไทรบุรี,ปลิศ, ให้อังกฤษ เมื่อ ๑๐ มีนาคม ๒๔๕๑ เนื้อที่ ๘๐,๐๐๐ ตร.กม.

๑๑. เสียเขาพระวิหาร ให้เขมร เมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๐๕ เนื้อที่ ๒ ตร.กม.

จากหนังสือ การเสียดินแดนของชนเชื้อชาติไทย โดย พันเอก ถวิล อยู่เย็น หัวหน้ากองประวัติศาสตร์ กรมยุทธการทหารบก, กองทัพบก, กองบัญชาการตำรวจภูธรชายแดง จัดพิมพ์เผยแพร่.

(๕) หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, กรมศิลปากร เอกสาร ร.๕ ม.๑/๑๗

(๖) หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, กรมศิลปากร เอกสาร ร.๕ ป.๑/๑๗.